บอดใบ้ในไหปลาแดก : การรับรู้ผลกระทบจากข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนของแรงงานอีสาน

Authors

  • ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน, MRA, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, AEC, แรงงานอีสาน, ASEAN Mutual Recognition Agreement on Tourism Professionals, ASEAN Economic Community, Isan Labourers

Abstract

        At the end of 2015, Thailand and other ASEAN countries became to the ASEAN Economic Community (AEC). There are many effects from AEC such as free flow of capital, commercial, investment and labourer. The objectives of this research were (1) to analyze ASEAN mutual Recognition Agreement on Tourism Professionals (MRA) as impact stimulus (2) to study view of stakeholders who were organizations or institutes and Isan labourers to MRA and (3) to investigating the perceived impact of MRA of Isan labourers. Qualitative data were collected by in-depth interviews and by participatory and non-participatory observations with 27 key informants who represented the tourism organizations, academic institutes and labourers in the tourism and service sector in the Northeast of Thailand, Isan. Content analysis of the data was then performed with the ATLAS.ti program. The result indicated that in view of Thai organizations or institutes, the ASEAN Mutual Recognition Agreement on Tourism Professionals is the general rule and ongoing with the first phase of preparation. Most of the Isan laborers in the tourist and service sector have never heard of MRA before. They do not know and are not certain what MRA is. They consider MRA the issue of business cooperation. They also see MRA as a story so far.

 

บทคัดย่อ

            ปลายปีพุทธศักราช 2558 ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ต่างเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่นำมาซึ่งผลกระทบหลายด้าน เช่น การเคลื่อนย้ายทุนเสรี การค้าและการลงทุน รวมไปถึงด้านแรงงาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน (MRA) ในฐานะของการเป็นสิ่งเร้าต่อการรับรู้ผลกระทบ (2) ศึกษามุมมองที่มีต่อข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นองค์กรหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องรวมถึงแรงงานอีสาน และ (3) ศึกษาการรับรู้ผลกระทบจากข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนของแรงงานอีสาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือแรงงานภาคบริการการท่องเที่ยวและต้องนำข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนไปปฏิบัติ ตลอดจนแรงงานภาคบริการการท่องเที่ยวผู้ปฏิบัติงานในภาคอีสาน รวม 27 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti ผลการศึกษาชี้ว่า ในมุมมองของหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องมองว่า MRA เป็นหลักการทั่วไปที่ต้องปฏิบัติตามนโยบาย และอยู่ในช่วงแรกของการเตรียมการ ในขณะที่แรงงานอีสานส่วนใหญ่ในภาคบริการการท่องเที่ยวไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน ไม่รู้เกี่ยวกับเงื่อนไขและเรื่องราวของ MRA โดยคิดว่าคงเป็นเรื่องของความร่วมมือทางธุรกิจและยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว

Downloads

Published

2016-12-30

How to Cite

ชามะรัตน์ ธ. (2016). บอดใบ้ในไหปลาแดก : การรับรู้ผลกระทบจากข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียนของแรงงานอีสาน. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 33(3), 193–221. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/75000

Issue

Section

บทความวิชาการ