การบูรณาการการแสดงหนังตะลุงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา หนังตะลุงนครินทร์ ชาทอง

Authors

  • เธียรชัย พันธ์คง สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • ศิริรักษ์ จวงทอง โปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สุชาดา สุวรรณขำ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Keywords:

การบูรณาการ, หนังตะลุง, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, Integrate, Shadow Puppet show, Cultural Tourism

Abstract

The purpose of this research was to study background with about the wisdom of Performing Arts of Nakarin Chatong's Shadow Puppet to find out guidelines for development integrate the shadow puppet show with the Cultural Tourism. This research collects the data by interview and focus group from Shadow player, musicians and relate. Research finding : Nakarin Chatong's Shadow Puppet is Shadow Puppet Conservative follow Songkhla Province' popular tradition 16 steps, a matter of the application shows the current date and the actual situation. The guidelines for development integrate the shadow puppet show with the Cultural Tourism found Nakarin Chatong's Shadow Puppet show and community has an efficiency for development of a tourism route to learning, wisdom and culture. Can be linked to the tourism route in the neighborhood. An integration in the form of cultural tourism route are two type comprise the first day trip and the second form takes one day, one night. Experimental results show that travel along the path. Tourists get a knowledge of history and culture on many levels. In particular, knowledge about watching shadow puppet and impressive attractions and tourism suggestion should allow visitors to get involved in more activities.


บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเป็นมาเกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงหนังตะลุงของหนังนครินทร์  ชาทอง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบูรณาการการแสดงหนังตะลุงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย จากนายหนังตะลุง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

            ผลการวิจัย พบว่า หนังนครินทร์  ชาทอง เป็นหนังตะลุงแนวอนุรักษ์ที่ยึดการแสดงตามขนบนิยมของจังหวัดสงขลา  มีการประยุกต์เรื่องของการแสดงให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน  แนวทางในการพัฒนาการบูรณาการการแสดงหนังตะลุงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า การแสดงของหนังนครินทร์ ชาทอง และชุมชนพื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม สามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียง รูปแบบการบูรณาการอยู่ในรูปของเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มี 2 รูปแบบ  โดยรูปแบบแรกใช้ระยะเวลา 1 วัน และรูปแบบที่สองใช้ระยะเวลา 1 วัน 1 คืน ผลการทดลองนำเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับการดูหนังตะลุงในระดับมาก และประทับใจแหล่งท่องเที่ยว ข้อเสนอแนะ คือ ควรให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้มากขึ้น

Downloads

Published

2016-12-30

How to Cite

พันธ์คง เ., จวงทอง ศ., & สุวรรณขำ ส. (2016). การบูรณาการการแสดงหนังตะลุงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา หนังตะลุงนครินทร์ ชาทอง. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 33(3), 222–240. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/75004

Issue

Section

บทความวิชาการ