วิจารณ์หนังสือ Book Review รู้ Zen ผ่าน Science

Authors

  • กิจชัย วงศ์ราช นิสิตปริญญาเอก สาขาพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต เชียงใหม่

Keywords:

รู้ Zen ผ่าน Science

Abstract

          ดร. วรภัทร์  ภู่เจริญ เกิดและเติบโตมาในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เรียนหนังสือชั้นมัธยมที่โรงเรียนเครือเซนต์คาเบรียล  จบปริญญาตรีด้านเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาเป็นคนไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรนาซ่า (NASA) ตามหาถึง 3 ปี จึงพบ ได้มอบทุนให้เรียนระดับปริญญาเอกด้านเครื่องกลและวัสดุศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเคลฟแลนด์ สเตท สหรัฐอเมริกา เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ทุนนี้ หลังเรียนจบเขาได้ทำงานเป็นวิศวกรนาซ่านานถึง 7 ปี ซึ่งมีคนไทยที่นั้นถึง 7 คน แต่มีเพียง ดร. วรภัทร์ คนเดียวที่ทำด้านเซรามิก และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือ เขาได้รับรางวัลวิจัยที่ดีที่สุดระดับโลกเกี่ยวกับเครื่องยนต์ไอพ่น ปี พ.ศ. 2528  ถือว่าเป็นรางวัลที่ 1 ของโลกให้กับองค์กรนาซ่า (NASA) (การเคลือบเซรามิกลงใบพัดเครื่องบินไอพ่น) ที่เมืองซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา จากจุดนี้เองทำให้เขาเห็นตนเอง พัฒนาตนเอง เริ่มสนใจทางพุทธศาสตร์  อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสที่เชื่อมโยงกับคริสตศาสนาได้เป็นอย่างดี

          ด้วยความสำนึกถึงแผ่นดินไทย และบุญคุณมารดาบิดา เขาเดินทางกลับไทย เมื่อ อายุ 30 ปี เข้าเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เห็นตนเองชัดเจนขึ้น มีความเบื่อหน่ายต่องานราชการ ที่สำคัญมีกัลยาณมิตรแนะนำให้รู้จักไปกราบครูบาอาจารย์หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย จังหวัดพิจิตร และหลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน ยิ่งสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จึงหันมานับถือศาสนาพุทธ และบวชเป็นพระธุดงค์ 13 วัน โดยเลือกสายปฏิบัติหลวงปู่มั่น ไม่นานก็ค้นพบว่า พุทธะคือความว่าง เพราะเขาเชื่อว่าการมี “โค้ช” เป็นสิ่งจำเป็นและเชื่อว่า “การปฏิบัติธรรมถือเป็นการลงทุนข้ามชาติ”

          ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ มีงานที่ปรึกษามากมายทั้งองค์กรขนาดใหญ่ เล็ก เอกชน ราชการ รัฐวิสาหกิจ เช่น เครือซีเมนต์ไทย (SCG) บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลในเครือ และกระทรวงแรงงาน เป็นต้น

Downloads

Published

2016-12-30

How to Cite

วงศ์ราช ก. (2016). วิจารณ์หนังสือ Book Review รู้ Zen ผ่าน Science. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 33(3), 282–289. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/75012

Issue

Section

บทความ