แนวทางการเขียนบทความวิชาการ;Approaches for Writing the Academic Article

Authors

  • สัญญา เคณาภูมิ คณะรัฐศาสตร์และรับประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Keywords:

บทความวิชาการ, แนวทาง, Academic Article, Approach

Abstract

บทความทางวิชาการเป็นงานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมนำมาสนับสนุนและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้เนื้อหาเน้นหนักทางวิชาการโดยการเสนอความคิด วิทยาการแนวใหม่ การตีความ การค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่แปลกใหม่เสนอต่อผู้อ่าน โดยทั่วองค์ประกอบของบทความวิชาการ มี 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำ เป็นส่วนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้นๆ (2) ส่วนสาระสำคัญ ประเด็นสาระของบทความอาจเขียนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือผสมผสานกันดังนี้ องค์ประกอบ กระบวนการ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ระบบและกลไก การเล่าเรื่อง การตีความ การวิเคราะห์แยกแยะ การวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย การวิพากษ์ วิจารณ์ การสังเคราะห์ การให้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางการพัฒนา และแบบผสมผสาน (3) ส่วนสรุป เป็นการย่อหรือการเลือกเก็บประเด็นสำคัญมาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้นๆ และ (4) ส่วนอ้างอิง การนำข้อความหรือผลงานของผู้อื่นมาใช้เพื่อสื่อว่าส่วนนั้นไม่ใช่ความคิดของผู้เขียนซึ่งเป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านให้สามารถไปสืบเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมหรือติดตามตรวจสอบหลักฐานได้

 

Abstract

            Academic article is the academic writings which is analyzed as a theoretical issue by survey literature and analysis systematically in order to be able conclude it rationally” the substance focuses on academic by presentation as the new knowledge, new science, interpretation, searching a true newly and strangely for reader, element of academic article, however, were 4 parts; (1) the introduction; is to motivate the readers interest the subjects. (2) Article body; is the essence of article, it should be written in any manner or combine together namely; the composition, the processes, the relationships between variables, the system, the narrative, the interpretation, the identify analysis, the advantages and disadvantage analysis, the critical review, the synthesis, the development guidelines or suggestion, and the integration. (3) Conclusions; is simplified or collects a key issues to write together briefly. (4) References; bringing other’s texts communicate that it is not writer’s idea which is evidence for a reader could be able search for knowledge or additional monitoring evidence as well.

Downloads

Published

2017-04-30

How to Cite

เคณาภูมิ ส. (2017). แนวทางการเขียนบทความวิชาการ;Approaches for Writing the Academic Article. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 34(1), 1–31. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/91439

Issue

Section

บทความวิชาการ