การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาชุดโครงการเครือข่ายพัฒนาพันธุ์และสร้างอาชีพ ปลูกพริกพื้นเมือง

ผู้แต่ง

  • ภมรย์ สกุลเลิศวัฒนา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • บุษยา วงษ์ชวลิตกุล วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • อรรัตน์ มงคลพร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อังควิภา แนวจำปา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวน วงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์, ผลกระทบ, ความยั่งยืน, พริกพื้นเมือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของ 3 โครงการในชุดโครงการ ‘เครือข่ายพัฒนาพันธุและสร้างอาชีพปลูกพริกพื้นเมือง (หรือ ชุดโครงการพริกพื้นเมือง) ซึ่งมีการดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ชุดโครงการนี้ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. หรือ สกสว. ในปัจจุบัน) ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2558  รายงานนี้เป็นผลการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีการตรวจสอบความแม่นยำของข้อมูลด้วยหลักการตรวจสอบ
สามเส้า จากการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ นักวิจัย เกษตรกร  ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น และผู้ค้า ด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสนทนากลุ่มย่อย และ มีการค้นคว้าวิจัยเอกสาร ตำรา บทความแผ่นพับ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นได้ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิซึ่งรวบรวมจาก สกว. ผลการวิจัยพบว่า ทั้ง 3 โครงการก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงวิชาการ ได้แก่ การเรียนการสอน วิทยากรและนักวิจัยร่วม และพัฒนาตัวนักวิจัยเองให้ได้ตำแหน่งวิชาการสูงขึ้น ผลลัพธ์เชิงการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การเพาะกล้า การผลิตพริกปลอดภัย และระบบการตัดสินใจการผลิตพริก และเกิดผลลัพธ์เชิงนโยบาย คือ การส่งเสริมการผลิตพริกและพืชผักปลอดภัยและได้มาตรฐาน มีเพียง 2 โครงการ ที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างชัดเจน และมีความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดโครงการ ตามหลัก Triple Bottom Line พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืน ได้แก่ (1) การถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกร ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ในการปฏิบัติตามแนวทางใช้ความรู้ที่ได้รับจากโครงการวิจัย และ (3) การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

References

ปิยะวัติ บุญหลง. (2561). การวางแผนโครงการด้วยล็อคเฟรม. ในจันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ. การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อสร้างผลลัพธ์และผลกระทบ (น. 432-479). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วันชัย ธรรมสัจการ, ศิวรักษ์ ศิวารมย์, มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ, จรินทร์ บุญมัธยะ, วราทิพย์ อยู่พลีวีรกุล, บรรจง ศิริ, โชติกา สุวรรณโณ และนัฐวัส ไพบูลย์. (2552). โครงการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบโครงการวิจัยท้องถิ่นที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนทางการศึกษา.ในการประชุมสัมมนาวิชาการการวัดผล ประเมิน และวิจัยสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (น.31-38). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สมพร อิศวิลานนท์. (2561). การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ: แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว).

สมพร อิศวิลานนท์ และปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์. (2561). การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ: แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ. (2560). ผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact) คืออะไร?. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สฤณี อาชวานันทกุล (2556). A Triple bottom lines: แนวคิด ประโยชน์ และเครื่องมือในการประเมิน. สืบค้นจาก: http://www.salforest.com/glossary/triple-bottom-line

สุวรรณา ประณีตวตกุล ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ และกัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2562). ผลลัพธ์ ผลกระทบ และความยั่งยืนของการลงทุนงานวิจัย: กรณีศึกษาโครงการวิจัย ด้านปลานิล. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 12(6), 2235-2249.

สุวรรณา ประณีตวตกุล และกัมปนาท วิจิตรศรีกมล (2563) ผลลัพธ์และผลกระทบของงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันในประเทศไทย และกรณีศึกษา. วารสารสมาคมวิจัย, 25(1), 385-401.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2564). รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการส่งเสริม SME ภายใต้งบประมาณบูรณาการปี 2560 – 2561 โดย บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/report-60-61-1.pdf

Ann-Murray Brown Consultancy. (2016). Difference between the Theory of Change and Logic Model. Retrieved from https://www.annmurraybrown.com/single-post/2016/03/20/ Theory-of Change-vsThe-Logic-Model-Never-Be-Confused-Again

Banke-Thomas, A., Madaj, B., Kumar, S., Ameh, C., & Nynke van den, B. (2017). Assessing value-for-money in maternal and newborn health BMJ Global Health. Retrieved from https://globalhealth.usc.edu/2017/07/28/assessing-value-for-money-in-maternal-and-newborn-health/

Chianca, T. (2008). The OECD/DAC criteria for international development evaluations: An assessment and ideas for improvement. Journal of Multidisciplinary Evaluation, 5(9), 41-51.

Cronbach, L. J. (1990).Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.

Elkington, J. (1997). Cannibals with forks - the triple bottom line of twenty-first century Business. Mankato, MN: Capstone.

Li, H., Xia, Q., Wen, S., Wang, L., &Lv, L. (2019). Identifying factors affecting the sustainability of water environment treatment public-private partnership projects. Advances in civil Engineering, (11), 1-15.

Örtengren, K. (2016). A guide to Results-Based Management (RBM), efficient project planning with the aid of the Logical Framework Approach (LFA). Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA).

Samset, K. (2003). Project evaluation: Making investments succeed. Akademika Pub.

Sawadogo, J. B., & Dunlop, K. (1997). Managing for results with a dynamic logical framework approach: From project design to impact measurement. Canadian Journal of Development Studies/Revue canadienned'études du développement, 18(1), 597-612.

Shen, L. Y., Li Hao, J., Tam, V. W. Y., & Yao, H. (2007). A checklist for assessing sustainability performance of construction projects. Journal of civil engineering and management, 13(4), 273-281.

Shen, L., Wu, Y., & Zhang, X. (2011). Key assessment indicators for the sustainability of infrastructure projects. Journal of construction engineering and management, 137(6), 441-451.

Welde, M. (2018). In search of success: Ex-post evaluation of a Norwegian motorway project. Case Studies on Transport Policy, 6(4), 475-482.

Yılmaz, M., & Bakış, A. (2015). Sustainability in construction sector. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 195, 2253-2262.

Ritcharoon, P. (2014). Project evaluation techniques. Bangkok: House of Kermyst.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30