คุณภาพของแบบวัดทางจิตวิทยาสำหรับงานวิจัยทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • กิดานันท์ ชำนาญเวช

คำสำคัญ:

คุณภาพของแบบวัดทางจิตวิทยา, งานวิจัยทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวัดทางจิตวิทยาเป็นการวัดที่เป็นนามธรรม การสร้างแบบวัดทางจิตวิทยาให้มีคุณภาพ จะต้องมีการสร้างแบบวัดให้มีความเที่ยงตรงและมีความเชื่อมั่นการสร้างแบบวัดทางจิตวิทยาให้มีความเที่ยงตรงจะดำเนินโดยการเขียนนิยามเชิงปฏิบัติการก่อน โดยมีการนิยามทั่วไปและนิยามปฏิบัติการแล้วจึงจะสามารถกำหนดตัวบ่งชี้ได้ เพื่อนำไปเขียนเป็นข้อคำถาม การตรวจสอบความเที่ยงตรงจะตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญว่า ข้อคำถามแต่ละข้อสอดคล้องกับนิยามปฏิบัติการหรือไม่ และใช้ค่าสถิติในการวัดค่า ซึ่งได้แก่ค่า IOC ถ้าค่า IOC มากกว่า 0.5 แสดงว่าข้อคำถามนั้นมีความสอดคล้องกับนิยามปฏิบัติการ เพราะผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นคล้ายกัน ในการหาค่าความเชื่อมั่นมีการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างประมาณ 30 คน และไปคำนวณค่าสถิติตามสูตร ถ้าค่าความเชื่อมั่นได้ใกล้เคียง 1 จะมีค่าความเชื่อมั่นสูง แต่ถ้าค่าความเชื่อมั่นได้ใกล้เคียง 0 จะมีค่าความเชื่อมั่นต่ำ ค่าที่ดีแล้วควรมีความเชื่อมั่นมากกว่า 0.7 ขึ้นไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ