การพัฒนาตนเองของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศขององค์กร

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเอง, ผู้บริหาร, ความเป็นเลิศขององค์กร

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่อง การพัฒนาตนเองของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศขององค์กรมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาตนเองของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาความเป็นเลิศขององค์กร และ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาตนเองของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศขององค์กร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งไม่ทราบขนาดของประชากรที่แน่นอน ดังนั้น ผู้วิจัยต้องการสุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด ต้องการความเชื่อมั่น 95 % และยอมรับความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง 0.05 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจะคำนวณได้ คือ 384 ตัวอย่าง โดยใช้สูตรกำหนดขนาดตัวอย่างของ สูตร Cochran (1953) ผู้วิจัยจึงเก็บตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการศึกษา ดังนี้

         จากการวิเคราะห์การพัฒนาตนเองของผู้บริหารในแต่ละด้านมีผลการประเมินความเหมาะสมของคุณลักษณะส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยในด้านการพัฒนาที่เป็นการศึกษาเพื่อความรู้ทั่วไป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 ในด้านการพัฒนาที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 ด้านการพัฒนาตนเองโดยการอาศัยตนเอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96

         จากการวิเคราะห์ระดับความเป็นเลิศขององค์กร ในด้านมิติด้านประสิทธิผล, มิติด้านคุณภาพการให้บริการ, มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และมิติด้านการพัฒนาองค์กร พบว่า ในทุกมิติมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยในมิติด้านประสิทธิผล มีค่าเฉลี่ย 3.68 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย 3.69 มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 3.58 และมิติด้านการพัฒนาองค์กร มีค่าเฉลี่ย 3.53

         การวิเคราะห์ปัจจัยการพัฒนาตนเองของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อความเป็นเลิศขององค์กร โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) พบว่า ปัจจัยด้านการพัฒนาความรู้ทั่วไป เท่านั้นที่ไม่สามารถพยากรณ์ความเป็นเลิศขององค์กรได้ (p-value .953) ส่วนปัจจัยการพัฒนาความรู้และทักษะเฉพาะอย่างและปัจจัยการพัฒนาโดยการอาศัยตนเองนั้น สามารถพยากรณ์ความเป็นเลิศขององค์กรได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย