ความจำเป็นในการตราพระราชกำหนดแรงงานบังคับ

ผู้แต่ง

  • วาทิน หนูเกื้อ

คำสำคัญ:

พระราชกำหนด, แรงงานบังคับ

บทคัดย่อ

พฤติการณ์การบังคับใช้แรงงานและบริการเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอย่างเดียวกันกับ ความผิดฐานค้ามนุษย์ จึงเป็นปัญหาร่วมกันของสังคมโลกที่จะต้องช่วยกันป้องกันและขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไป ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 และพิธีสาร ปี ค.ศ. 2014 ส่วนเสริมอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายอนุวัตรตามพิธีสารและอนุสัญญาดังกล่าว ตามกำหนดระยะเวลาที่ได้ลงนามไว้ คือ ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2562 ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงได้ดำเนินการเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและขจัดการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .........” แต่เมื่อทำประชามติรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 3 ครั้ง แล้วปรากฏว่าผลของการรับฟังความคิดเห็นออกมาในลักษณะเดียวกัน คือ ไม่เห็นด้วยที่จะออกกฎหมายการบังคับใช้แรงงานเป็นการเฉพาะ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานที่มีอยู่แล้ว คือ ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงานและพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เป็นเหตุให้กระทรวงแรงงานขอนำเอาร่างพระราชบัญญัติไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ แต่เนื่องจากความล่าช้าของกระทรวงแรงงาน จึงไม่สามารถดำเนินการเสนอเป็นพระราชบัญญัติได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาโดยการตราเป็นพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2562 ให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 8 เมษายน 2562 โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ได้รับฟังความคิดเห็นไว้ เพียงแต่อัตราโทษรุนแรงกว่าความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญาทั้ง ๆ ที่เป็นการทำร้ายคุณธรรมทางกฎหมายอย่างเดียวกัน คือ เสรีภาพในการตัดสินใจ และไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 การฉ้อโกงแรงงาน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้พิจารณาทบทวนอัตราโทษโดยเทียบเคียงกับโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 เพื่อให้คุ้มครองผู้ถูกกระทำทุกคน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย