การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุและการพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ พรสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมโภชน์ อเนกสุข มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การพัฒนากระบวนการคิด, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตภาคตะวันออก 2) พัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 600 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดเชาว์ปัญญา แบบวัดปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัย พบว่า มีตัวแปรเชิงสาเหตุ 4 ตัวแปร คือ พฤติกรรมการสอนของครู การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การเชื่ออำนาจภายในตน และเชาว์ปัญญา โดยมีโมเดลโครงสร้างของปัจจัยเชิงสาเหตุ คือ พฤติกรรมการสอนของครู การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การเชื่ออำนาจภายในตน และเชาว์ปัญญา ส่งผลทางตรงต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตัวแปรที่ส่งผลทางอ้อมต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ พฤติกรรมการสอนของครู โดยส่งผ่านการเชื่ออำนาจภายในตน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ส่งอิทธิพลทางอ้อมผ่านความเชื่ออำนาจภายในตน และเชาว์ปัญญา และโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตภาคตะวันออก ประกอบด้วย การพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครู การส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การเสริมสร้างความเชื่ออำนาจภายในตน และการพัฒนาเชาว์ปัญญา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28