การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัญหาการบริหารงานแนะแนว, บริการแนะแนว 5 บริการบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงาน แนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
3) ศึกษาผลการดำเนินงานตามแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม สอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารการจัดบริการแนะแนว 5 บริการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนรายบุคคล บริการสนเทศ บริการให้คำปรึกษา บริการจัดวางตัวบุคคล บริการติดตามผลและวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพ-
มหานคร จำนวน 204 คน 2) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และ3) แบบสอบถาม สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสำเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติหลังจากที่โรงเรียนได้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารหรือครูในเครือข่ายโรงเรียนที่ 52 จำนวน 125 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย()ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Anslysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.53, S.D. = 1.12) โดยบริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.74, S.D. = 1.12) ส่วนบริการสนเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 3.26, S.D. = 1.22) 2. การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ 3) การศึกษาผลสำเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไขปัญหาการแนะแนวในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.38, S.D. = 0.65) โดยบริการติดตามผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.53, S.D. = 0.62) ส่วนบริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 4.14,S.D. = 0.71)