ปัจจัยจิตลักษณะและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • นิษรา พรสุริวงษ์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • นิตยา สุขเสรีทรัพย์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ปัจจัยจิตลักษณะ, ปัจจัยสถานการณ์, พฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยจิตลักษณะเดิมและสถานการณ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 2) เพื่อหาสมการที่สามารถพยากรณ์ปัจจัยจิตลักษณะเดิมและสถานการณ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 306 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise

           ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในของตัวแปรที่นำมาศึกษาและพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์มีค่าอยู่ระหว่าง .175 ถึง .823 โดยลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน (x1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (x2) ความเชื่ออำนาจในตน (x3) การสนับสนุนทางการเรียนจากผู้ปกครอง (x4) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูคณิตศาสตร์ (x5) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน (x6) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (x7) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (x8) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การวิเคราะห์สมการพยากรณ์ ที่ใช้การคัดเลือกตัวแปรด้วยวิธี Stepwise พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 5 ตัว ที่ร่วมกันทำนายตัวแปรตาม สามารถอธิบายพฤติกรรมการเรียน ได้ร้อยละ 85.80 (R2= .858) เมื่อพิจารณาเฉพาะตัวแปร พบว่าตัวแปรอิสระที่สามารถ อธิบายตัวแปรตามได้ดีที่สุดและมีนัยสำคัญคือ ความเชื่ออำนาจในตน (x3) ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน (x1) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูคณิตศาสตร์ (x5) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (x2) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (x8) ซึ่งจากตารางข้อมูล สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์พฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

         สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

         Y = 0.62 + .738x3 + .762x1.+ .318x5 + .195x2 + .150x8

         สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

         ZY = .848x3 + .764x1 + .327x5 + .231x2 + .174x8

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29