การทับศัพท์คำยืมภาษาอังกฤษสองพยางค์ในข้อความโฆษณาสินค้าของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จอมขวัญ สุทธินนท์ สาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา มนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การทับศัพท์, ข้อความโฆษณา, บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยเรื่องการทับศัพท์คำยืมภาษาอังกฤษสองพยางค์ในข้อความโฆษณาสินค้าของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในประเทศไทยฉบับนี้ มุ่งนำเสนอผลการวิเคราะห์การทับศัพท์คำยืมภาษาอังกฤษสองพยางค์ในข้อความโฆษณาสินค้าของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่รวบรวมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 จำนวน 153 คำ เป็นประชากร และคัดเลือกคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษสองพยางค์ จำนวน 82 คำ เป็นกลุ่มตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ผลการวิเคราะห์พบว่า มีคำยืมทับศัพท์ภาษาอังกฤษสองพยางค์ 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) คำยืมภาษาอังกฤษสองพยางค์ที่ทับศัพท์ตรงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษพบมากที่สุด จำนวน 47 คำ คิดเป็นร้อยละ 57.31 (2) คำยืมภาษาอังกฤษสองพยางค์ที่ทับศัพท์ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษพบรองลงมา จำนวน 28 คำ คิดเป็นร้อยละ 34.16 และ (3) คำยืมภาษาอังกฤษสองพยางค์ที่ทับศัพท์โดยใช้รูปเขียนแปรสองรูปเขียนพบน้อยที่สุด จำนวน 7 คำ คิดเป็นร้อยละ 8.53

References

กาญจนา นาคสกุล. (2554). ระบบเสียงภาษาไทย. ใน กาญจนา นาคสกุล และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 1: ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554). ปัญหาการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภูเก็ต วาจานนท์. (2555). ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการทับศัพท์. เวชบันทึกศิริราช, 5(2), 82-94.

รุ่งรัตน์ ทองสกุล. (2562). คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปรากฏในนิตยสาร Vogue Thailand. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 14(1), 54-66.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2541). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย (SE-ED’S MODERN ENGLISH-THAI DICTIONARY (COMPLETE & UPDATED) DESK REFERENCE EDITION. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศิวรี อรัญนารถ และพัดชา อุทิศวรรณกุล. (2560). เมื่อแฟชั่นคือชีวิต. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(2), 217-231.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2532, กันยายน 14). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 153.

เหมย หาน และซัลมาณ ดาราฉาย. (2564). โครงสร้างและประเภทของพยางค์ของคำในพจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 54-70.

อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2553ก). การยืมภาษา. ใน วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2553ข). คำยืมภาษาอังกฤษ. ใน วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2553ค). หน่วยคำ. ใน วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555ก). การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยในปริบทสังคมและวัฒนธรรม. ใน ประคอง นิมมานเหมินท์ และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4: วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2555ข). ภาษาไทยกับสังคม. ใน ประคอง นิมมานเหมินท์ และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4: วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อรวี บุนนาค. (2561). การแปรรูปเขียนคำทับศัพท์หมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาต่างสาขาวิชา. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 18(1), 221-265.

อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2561). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Arisa JK. (2561). เหตุผลที่ควรเรียน ‘แฟชั่นดีไซน์’ ในฝรั่งเศส ประเทศต้นกำเนิดและเมืองหลวงแห่งแฟชั่น. Retrieved from https://www.scholarship.in.th/why-study-fashion-design-in-france/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28