ผลของการเรียนการสอนออนไลน์ในเรื่องเส้นขนานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมหิศราธิบดี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวนนักเรียนทั้งหมด 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยทดลองการใช้เครื่องมือในการทำวิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมหิศราธิบดี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 23 คน จัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเส้นขนาน โดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์จำนวน 15 ข้อ ใช้การวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และค่าสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.96)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553. (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเคท.
กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ E-Learning.รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน,ทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปัญจพัฒน์ พัฒน์ญานนท์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองประกอบบทเรียนออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรการเรียนและการสอน,มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลัดดาวัลย์ สวัสดิ์หลง. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อการเรียนรู้เป็นทีม ของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิทยา วาโย อภิรดี เจริญนุกูล ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563, พฤษภาคม- สิงหาคม). การเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14(34).
วาสนา แสงศรี. (2555). การพัฒนาบทเรียนบนช่วยสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุบิน ยมบ้านกวย. (2550). การพัฒนาบทเรียน e-Learning แบบปฎิสัมพันธ์เรื่องความน่าจะเป็นสําหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3.
ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภิดา เที่ยงจันทร์ (2560, พฤษภาคม – สิงหาคม). ผลการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ด้วยกลวิธีการแก้ปัญหา STAR วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนวัดธรรมศาลา วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2548. รายงานนำเสนอข้อมูล การวางแผนพัฒนาการศึกษา การติดตามประเมินผลและการปฏิรูป ของประเทศ. กรุงเทพฯ. สำนักงานฯ.
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2563). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ม.3 ปี การศึกษา 2561-2563. กรุงเทพฯ. สำนักทดสอบฯ.
Harling, Frederick Jibran. (2004). "Fifth grade students' perspectives of learning through a constructivist approach." Doctoral Dissertations 1896 - February 2014.
Icy D’Silva. (2010, July). Active learning. Journal of Education Administration and Policy Studies, 2(6), pp.77-82.
Yung-Ting Chuang. (2014, December). Increasing learning motivation and student engagement through the technology- supported learning environment. Journal of Creative Education, 5(23).