การสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรักษา ด้วยแพทย์แผนจีน วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศิริพร พจน์พาณิชพงศ์ หลักสูตรการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมาวิทยาลัยนครราชสีมา
  • ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, การสื่อสารทางการตลาด, การรักษา, แพทย์แผนจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของการใช้สื่อสารทางการตลาดที่มีส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีน วิทยาลัยนครราชสีมา 2) ศึกษาระดับความสำคัญของการรับรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีนของผู้ใช้บริการ และ 3) ศึกษาระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ของการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการรักษาโรค งานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการในคลินิกอินทนิลการแพทย์แผนจีน วิทยาลัยนครราชสีมา ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จำนวน 180 คน และใช้สถิติวิเคราะห์ผลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของการใช้สื่อทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีน วิทยาลัยนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงคะแนนจากมากไปน้อยสามลำดับแรก พบว่า ด้านการใช้พนักงานขาย เป็นสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ
2. ผู้ใช้บริการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีนมีระดับการรับรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงคะแนนจากมากไปน้อยสามลำดับแรก พบว่า การใช้บริการโดยใช้เข็มในการฝังจุดตามเส้นลมปราน มีระดับการรับรู้การรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีนมากที่สุด รองลงมาคือ การรักษาโดยใช้วิธีการครอบแก้ว และ การรักษาโดยใช้รมยาโกฐจุฬาลัมพาตามจุดที่ฝังเข็ม ตามลำดับ
3. ผู้ใช้บริการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีนมีระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ของการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีน วิทยาลัยนครราชสีมาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการรักษาโรค ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงคะแนนจากมากไปน้อยสามลำดับแรก พบว่า ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมายาวนาน มีระดับภาพลักษณ์ของการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีน วิทยาลัยนครราชสีมามากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากรทางการแพทย์แผนจีนมีความสามารถและเป็นที่ยอมรับ และ การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีความหลากหลายและเป็นที่ยอมรับ ตามลำดับ
4. ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของแพทย์แผนจีนต่อการตัดสินใจใช้บริการรักษาโรคของผู้ใช้บริการในคลินิกอินทนิลการแพทย์แผนจีน ประกอบด้วย 1) สื่อการตลาดโดยการส่งเสริมการขายด้วยการมีโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม 2) สื่อการตลาดโดยการจัดกิจกรรมเปิดตัวในงานต่างๆ 3) สื่อการตลาดโดยการจัดกิจกรรมเปิดตัวคลินิก 4) สื่อการตลาดทางตรงโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภท Social Network, Social Bookmark, Media Shearing และ Weblogs ต่างๆ 5) สื่อการตลาดโดยการโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต และ 6) สื่อการตลาดโดยการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ อธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 63.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์. (2562, พฤษภาคม – สิงหาคม). ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมในการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 13(2), หน้า 111 - 122.

พินท์สุดา เพชรประสม. (2564, กันยายน). การรับรู้และความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.

ฤทธิรงค์ อัญจะนะ และวิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. (2559, พฤษภาคม-สิงหาคม). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกของคนไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17(2).

ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร.วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2(1), หน้า 92-106.

บุญซม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปทิตตา จารุวรรณชัย และ กฤช จรินโท. (2558, พฤษภาคม – สิงหาคม). คุณลักษณะของผู้ใช้การแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลของรัฐ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9(2).

ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี และคณะ. (2561, มกราคม - เมษายน). ความรู้ และความเข้าใจของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาที่มีต่อการรักษาโรคด้วยแพทย์ทางเลือก กรณีศึกษาการแพทย์แผนจีน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา. 11(1).

เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2555). การสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดบริการสุขภาพ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์. 2(2), หน้า 1-12.

Bahall M, Legall G. Knowledge. (2017). Attitude, and practices among health care providers regarding complementary and alternative medicine in Trinidad and Tobago. BMC Complement Altern Med.17: 144. doi: 10.1186/s12906-017-1654-y. PMID: 28274222.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York: Happer and Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29