แนวทางการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยภายใต้หลักธรรมาภิบาล
คำสำคัญ:
สหกรณ์ออมทรัพย์, ธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยภายใต้หลักธรรมาภิบาล และเพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยภายใต้หลักธรรมาภิบาล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการสหกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์ดีเด่นด้านธรรมาภิบาล และตัวแทนผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน เพื่อมาสังเคราะห์เป็นแนวทางการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยภายใต้หลักธรรมาภิบาล
ประเด็นในการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า 1) สภาพการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยภายใต้หลักธรรมาภิบาลเริ่มมีการทุจริตเพิ่มมากขึ้น และมีปัญหาในการแทรกแซงของหน่วยงานรัฐทำให้การขยายตัวของสหกรณ์ถูกจำกัด และ 2) แนวทางการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ได้สรุปประเด็นสำคัญในการวิจัย ได้แก่ 2.1) แนวทางการบริหารงานโดยมุ่งเน้นความสำคัญของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น มิติด้านประสิทธิผล ประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมาย ในการใช้ธรรมาภิบาลเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหาร กิจการและป้องกันมิให้กิดผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์และเกิดภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพิ่มโอกาสในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนมั่นคง 2.2) แนวทางการบริหารงานโดยมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมิติด้านการมีส่วนร่วม และการตอบสนอง โดยมีเป้าหมายที่ความสำเร็จในการดำเนินนโยบายตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานประจำปีเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ และการมีส่วนร่วมที่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดความศรัทธาและรักองค์กร และ 2.3 แนวทางการบริหารโดยมุ่งเน้นการกระบวนการดำเนินงาน มิติด้านนิติธรรม ความโปร่งใส ภาระรับผิดชอบ การมอบอำนาจ โดยมีเป้าหมาย ในการสร้างความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากสมาชิก
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2560). หลักธรรมาภิบาลในสหกรณ์. คำแนะนำสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนาสหกรณ์นอกภาคการเกษตร กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า กรมส่งเสริมสหกรณ์.
กัญรัตน์ สุนทรตุล. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
เกษม สวัสดี และคณะ. (2556, กันยายน-ธันวาคม). ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินกับการบริหารจัดการสถาบันการเงินไทย.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 7(3).
ชุลีพร โพธิ์เหลือง. (2557, พฤษภาคม – สิงหาคม). ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการด้วยหลักธรรมาภิบาล ตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(2).
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). การประเมินสมรรถนะและประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์: กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น. (2561). การประเมินความเสี่ยงทางการเงินและหลักธรรมาภิบาลด้านการบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย. เชียงใหม่ :มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณ.
วรชัย สิงหฤกษ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของชมุนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 14(1): 67.
Lawrence Musiitwa Kyazze, (2017). Governance and Social Performance of Cooperative Societies. Cogent Business & Management. 4(1).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.