ปัจจัยด้านกระบวนการและการบริหารจัดการงบประมาณ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของกองทัพอากาศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤตา วงษ์พระจันทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นภาพร นิลาภรณ์กุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

กระบวนการงบประมาณ, การบริหารจัดการงบประมาณ, การเบิกจ่ายงบประมาณ, กองทัพอากาศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องปัจจัยด้านกระบวนการและการบริหารจัดการงบประมาณที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของกองทัพอากาศไทยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านกระบวนการงบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี และ 3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี

        กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศไทย 155 คน ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณ ด้านการเงิน และด้านจัดหา การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความน่าเชื่อถือ ส่วนเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานเพื่อการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณ

        ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ด้านปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า อายุที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านกระบวนการงบประมาณ พบว่าขั้นตอนการวางแผนขอตั้งงบประมาณ และการบริหารงบประมาณส่งผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ด้านการบริหารจัดการงบประมาณพบว่า ด้านบุคลากร และ ค่านิยมร่วมส่งผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยความสำเร็จเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณสรุปจากผลการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่สอดคล้องกัน เช่น ระบบการปฏิบัติงานที่ดี และค่านิยมร่วม ขณะที่ปัญหามาจากการขาดฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน และการพัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นมีการสร้างฐานข้อมูลร่วมกันและเพิ่มการอบรมเจ้าหน้าที่ให้ต่อเนื่องเพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม

References

กรมบัญชีกลาง. (2562). สถิติ. จาก http://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/ข่าวสถิติ.

ธกรศักดิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยาการมนุษย์,มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รชิตา วรัตถ์ธนพิตญ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายในงบประมาณของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

รัฐบาลไทย. (2562). แนวทางการบริหารราชการแผ่นดินผ่านวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาลที่ “มุ่งมั่นให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว” สืบค้นจากhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details.

วัชระ สท้อนดี. (2559). ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมัย คัจฉะภา. (2555). การพัฒนาระบบบริหารงบประมาณของโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัวอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Kewo, Cecilia Lelly. (2014). The Effect of Participative Budgeting, Budget Goal Clarity and Internal Control Implementation on Managerial Performance. Padjadjaran University-Indonesia. Reseach Journal of Finance and Accounting. 5(12), pp.81-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29