การศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูอาชีวศึกษา สถานศึกษาอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
สมรรถนะครูอาชีวศึกษา, การกำหนดความต้องการจำเป็น, ความต้องการจำเป็นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูอาชีวศึกษา เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาสมรรถนะกับสมรรถนะที่มีของครูอาชีวศึกษา และจัดลำดับความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะของครูอาชีวศึกษา สถานศึกษาอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นครูอาชีวศึกษา ที่เป็นข้าราชการครูและพนักงานราชการครู จำนวน 378 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจาก 17 วิทยาลัยของสถานศึกษาอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร มีความคลาดเคลื่อนในการสุ่ม .05 ที่ระดับความเชื่อมั่น .99 (Gill and Johnson, 2010, p.130) เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการพัฒนาสมรรถนะการสอนของครูอาชีวศึกษา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับด้านสมรรถนะที่มีและความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านละ 73 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อรายการกับวัตถุประสงค์(IOC) ระหว่าง .75-1 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Cronbachs’ alpha: ∞) เท่ากับ .952 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (paired t-test) สูตรกำหนดความต้องการจำเป็นของ Kemerer and Schroeder (1983, อ้างถึงใน ไพฑูรย์ โพธิสาร, 2529, หน้า 53)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะในการสอนของครูอาชีวศึกษา สมรรถนะที่มีอยู่ในระดับมาก ( = 3.88) โดยด้านสมรรถนะหลัก มีสมรรถนะที่มีอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) ด้านสมรรถนะประจำสายงาน มี สมรรถนะที่มีอยู่ในระดับมาก ( = 3.84) ความต้องการพัฒนาสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ( = 4.20) โดยด้านสมรรถนะหลัก มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะ
อยู่ในระดับมาก ( = 4.20) และด้านสมรรถนะประจำสายงาน มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ( = 4.20)
2. สมรรถนะในการสอนของครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะหลักมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะสูงกว่าสมรรถนะที่มี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (df = 377, t = 7.103, p-value = .000) ด้านสมรรถนะประจำสายงานมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะสูงกว่าสมรรถนะที่มี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (df = 377, t = 9.393, p-value = .000)
3. ความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะของครูอาชีวศึกษา สถานศึกษาอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านสมรรถนะหลักมี 3 สมรรถนะแรก เป็นสมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะการบริการที่ดีตามลำดับ ด้านสมรรถนะประจำสายงาน มี 3 สมรรถนะแรก เป็นสมรรถนะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน ตามลำดับ
References
จิรกฤต รุ่งจิรโรจน์. (2560). สมรรถนะครูอาชีวศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรมเมคคาทรอนิกส์เพื่อรองรับ Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชื่นกมล ประศาสตร์ และ อมรรัตน์ สนั่นเสียง. (2560, มกราคม). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4(1), หน้า 15-21.
ตรีนุช เทียนทอง. (2560). แนว 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ. ปราจันบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปราจีนบุรี.
ประชาคม จันทราชิต. (มปพ). สมรรถนะครูอาชีวศึกษา . เอกสารประกอบการบรรยาย ของ รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560.
ธนกฤต วังน้อย. (2562). เรื่องรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มาหวิทยาลัยนเรศวร.
พงศักดิ์ วงษ์ป้อม, พงษ์นิมิต พงษ์ภิญโญ และ สมคิด สร้อยน้ำ. (2562, ตุลาคม). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาlสู่มาตรฐานสากลของสถานศึกษาสังกัดการอาชีวศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(8), หน้า 3826-3842.
ไพฑูรย์ โพธิสาร (2529). การสร้างแผนพัฒนาบุคลากรของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ไพฑูรย์ โพธิสาร และสุนันท์ ศลโกสุม. (2562, กรกฎาคม – ธันวาคม). การใช้สถิติอ้างอิงทดสอบสมมติฐานในการวิจัยเพื่อพัฒนาการสอนของครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ. 8(2), 6-13.
วิทยา พัฒนาเมธาดา (2560). การจัดการเรียนรู้ (Learning Management) : การศึกษาไทย ยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฏาคม 2560 จาก http://www.kansuksa.com.
สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2561). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา. (2561). คู่มือการประเมินตนเองและการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan : ID PLAN) ของครู สายงานการสอน สังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษา ธิการ. (2560) แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัทพริกหวานกราฟฟิต จำกัด.
โอภาส สุขหวาน และคณะ. (2562, มกรคม - มิถุนายน). การศึกษาสมรรถนะความเป็นครูของครูอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชา การอุตสาหกรรมศึกษา. 13(1), หน้า 107-121.
HR NOTE. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD). เข้าถึงได้จาก Asia.com. online.
Gill, John.; Johnson, Phill; and Clark, Murray. (2010). Research Methods for Managers. 4th ed. London: SAGE Publications Ltd.
Kemerer, Richard W.; and Wayne L. Schroeder. (1983).Determining the Importance of Community- Wide Adult Education Needs. Adult Education Quarterly. 38(4), pp.201-214.
Pothisan, Paitoon. (1986). Creating the Nonformal Education Provincial Centre Personnels’ Development Plan. Dissertation for Doctor in Education, Srinakarintarawirot University. (in Thai).
Scissions, Edward H. (1982). A Typology of Needs Assessment Definitions in Adult Education. Adult Education. 33(1) pp. 20-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.