ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ตามแนวทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • กัญญาวีร์ พิมพิสนธิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุขอรุณ วงษ์ทิม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิธิพัฒน์ เมฆขจร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์, กรอบความคิดแบบเติบโต , ทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ และ (2) เปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์และของนักเรียนที่ทำกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ

กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 14 คน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดและสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ตามแนวทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (2) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ (3) แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ มัธยฐานค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์

ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์นักเรียนกลุ่มทดลองมีกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ มีกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนสูงกว่าของนักเรียนที่ทำกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์ มหาวิทาลัยพายัพ. (2563). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์.สืบค้น 7 มกราคม 2565, จาก https://qao.payap.ac.th/KM /assets/files/63S_Ba.pdf.

เจียรนัย ทรงชัยกุล และโกศล มีคุณ. (2562). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม. ในประมวลสาระชุดวิชาชุดแนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. (หน่วย ที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ผ่องศรี คุณารักษ์. (2560). ผลการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อคุณค่าในตนเองของผู้หญิงที่ผิดหวังในความรัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลวรรณ เพชรเศรษฐ์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขจร เกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

สิริวิภา ปิงรัมย์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือก บุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบ TCAS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Cruz, B. J. A. (2018). Teachers’ Knowledge, Perceptions, and Practices about Mindset in the Northern Mariana Islands (Doctoral dissertation) Walden University. Retrieved September, 18 2020, from https://about.proquest.com/en/productsservices/pqdtglobal/.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success (1). New York: Random House.

Vsetecka, J. R. (2018). The Effect of a Mindset Intervention on Middle School Student Academic Achievement, Attitude toward learning, and Belief of Intelligence (Doctoral dissertation) Drake University. Retrieved September, 19 2020, from https://about.proquest. Com/en/products-services/pqdtglobal/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29