การพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงแรมในกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณกรณ์ หลวงวังโพธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สิทธิศักดิ์ เตียงงา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, คุณภาพการบริการที่คาดหวัง, นักท่องเที่ยว, โรงแรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการของโรงแรมในจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงแรม จังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และความคาดหวังของนักท่องเที่ยวกับคุณภาพการบริการของโรงแรมในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ดและเข้าพักที่โรงแรมในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation)

         ผลการศึกษา พบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-34 ปี มีสัญชาติไทย มีสถานภาพโสด มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท มีอาชีพนักเรียนและนักศึกษา มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์การเดินทางแบบให้รางวัลตัวเอง นิยมใช้บริการบริษัทนำเที่ยว ผู้ร่วมเดินทางคือ เพื่อน ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง คือ รถเช่า ค่าใช้จ่ายด้านที่พักในแต่ละครั้งต่อคืน คือ 1,001-2,000 บาท ช่วงเวลาที่เดินทาง คือ เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ช่องทางการรับทราบข้อมูลทางการเข้าพัก คือ สังคมออนไลน์ และประเภทของโรงแรมที่เข้าพัก คือโรงแรมระดับ 3 ดาว 2) คุณภาพการบริการของโรงแรมในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคุณภาพลำดับแรก คือ ความเป็นรูปธรรมของบริการ รองลงมา คือ การตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ด้านการให้ความมั่นใจ ด้านความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ ตรงตามเวลาที่ได้กำหนด และด้านการเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ ตามลำดับ 3) คุณภาพการบริการที่คาดหวังของโรงแรมจังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคุณภาพที่คาดหวังลำดับแรก คือ ความเป็นรูปธรรมของบริการ รองลงมา คือ ความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ การตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว การให้ความมั่นใจ และการเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ ตามลำดับ 4) นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในจังหวัดร้อยเอ็ด ไม่แตกต่างกัน ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกัน มีสัญชาติต่างกัน มีสถานภาพต่างกัน และมีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการของโรงแรม จังหวัดร้อยเอ็ด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในจังหวัดร้อยเอ็ด มีความสัมพันธ์แบบไปในทางเดียวกันกับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมในจังหวัดร้อยเอ็ด

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2561). สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565. จาก http://www.dla.go.th/servlet/NewsServlet?_mode=show&group_id=9

เกศินี โพธิ์เพชร และ คณะ. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ , 37(2). 110-136.

ชลลดา มงคลวนิช และ รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ (2560) ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของฝ่ายต้อนรับส่วนหน้าในโรงแรม 5 ดาว. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ปุญญาพร บุญธรรมมา. (2563). คุณภาพการบริการและพฤติกรรมการเข้าพักที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการโรงแรมขนาดกลางใน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2548). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

วิรัช วรรณรัตน์. (2539). สถิติที่ใช้ในการวัดผลและการวิจัย. วารสารการวัดผลการศึกษา. 15(1), 81-95.

สำนักงานสถิติการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). รายงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อรทัย มูลคำ และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2563). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14(1),130-144.

Likert, Rensis A. (1973). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Parasuraman, Valaria A. Zeithaml, & Berry, Leonard L. (2008). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nded.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29