ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีผลต่อการบริหารงบประมาณ ของกองทัพอากาศ

ผู้แต่ง

  • ณัฐรดา ประคองคำ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรรณทิพย์ อย่างกลั่น มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การควบคุมภายในการบริหาร, การเบิกจ่ายงบประมาณ, กองทัพอากาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีผลต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ โดยปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในการควบคุมภายในตามหลัก COSO ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมการควบคุม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล การบริหารงบประมาณ ได้แก่ การวางแผนและจัดทำงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ การบริหารและควบคุมงบประมาณ และการติดตามและประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารชั้นประทวน และพนักงานราชการที่เป็นบุคลากรปฏิบัติงานด้านงบประมาณของสำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ และหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ จำนวน 187 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

         ผลการวิจัย พบว่า  ลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยส่วนใหญ่มีอายุราชการ 5 - 10 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีชั้นยศเรืออากาศตรี - นาวาอากาศโท และมีรายได้ต่อเดือนจำนวน 15,001 - 30,000 บาท ในส่วนของการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในการควบคุมภายในตามหลัก COSO ในด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการติดตามและประเมินผล มีระดับคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านกิจกรรมการควบคุม มีระดับคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และในส่วนของระดับความคิดเห็นของการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ มีระดับคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

         ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การควบคุมภายในตามหลัก COSO มีผลต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ ดังนี้ (1) ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมมีผลกระทบเชิงลบต่อการบริหารงบประมาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ด้านการประเมินความเสี่ยง มีผลกระทบเชิงบวกต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ด้านการกิจกรรมการควบคุม ไม่มีผลกระทบต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ (4) ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลกระทบเชิงบวกต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (5) ด้านการติดตามและประเมินผล มีผลกระทบเชิงบวกต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมบัญชีกลาง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561. กรมบัญชีกลาง.

หาซูรี โตะตาหยง (2562). การควบคุมภายในมีผลกระทบกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. บทความวิชาการ, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนุพงศ์ คล้ายขำ. (2560). อิทธิพลของการควบคุมภายในที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานราชการ กรมการเงินทหารอากาศ. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Abdi,Anas Dahir. (2015). The impact of internal control system on financial performance in Mogadishu Private Banks (Case study some selected private banks in Mogadishu). [Unpublished Master’s Thesis]. Horsed International University.

Yamane, Taro. (1970). Statistic: an introductory analysis. 2nd Ed. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29