ความคิดเห็นต่อความสำเร็จนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง

ผู้แต่ง

  • ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ, นโยบายสาธารณะ, โครงการคนละครึ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อความสำเร็จนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความสำเร็จนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่งของผู้ร่วมโครงการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งจำนวนทั้งสิ้น 1,083 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า
1. ความคิดเห็นต่อความสำเร็จนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง ที่ประกอบด้วย การกระตุ้นเศรษฐกิจ การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ของประชาชน และการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ร้านค้ารายย่อยทั่วประเทศ พบว่าอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความสำเร็จนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่งของผู้ร่วมโครงการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน พบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จ ด้านความเสมอภาคและการเข้าถึง และด้านการให้บริการอย่างเพียงพอส่งผลความสำเร็จนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษา โครงการคนละครึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.

 

References

กฤษฎา บุญชัย และคณะ. (2563). การประเมินความเสียหายผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. https://kpi-lib.com/library/en/books/kpibook-28783/.

กัสมา บุญมาก. (2564), ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล สำหรับประชาชนผู้ได้รับสิทธิในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตติศักดิ์ นันทพานิช. (2564). “คนละครึ่ง กับรู้สึกว่ามีผลดีต่อเศรษฐกิจ”. ไทยพับลิก้า. https://thaipublica.org/2020/ 11/chittisak-nuntapanich05/

ธรรมนิติ. (2565). รวบรวมมาตรการเยียวยาโควิด-19 จากภาครัฐ. https://www.dharmniti.co.th/covid -measure/

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2564, สิงหาคม). แนวทางการ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19). วารสารการบริหารนิติ บุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(8).

ปัญจพัฒน์ ประสิทธิ์เดชสกุล. (2563) พลิกโฉมธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19. https://www.krungsri.com/bank/getmedia/578838c1-5ffc-47dd-ba5f-f807bc86d248/RI_PostCovid19_New_Normal_200716_TH.aspx.

มติคณะรัฐมนตรี (2564, 19 ตุลาคม). ประเด็นเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 และกระทรวงการคลัง. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER66/DRAWER028/GENERAL/DATA0001/00001013.PDF.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). สรุปเป้าหมายตัวชี้วัด ข้อมูลฐานและค่าเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2019/12/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-Update-04-12-2562.pdf .

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2564). แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 20. สำนักงานฯ.

สำนักนโยบายการคลัง. (2563ก). แถลงข่าวมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน). ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 27/2563. กระทรวงการคลัง.

สำนักนโยบายการคลัง. (2563ข). รายงานสถานการณ์การด้านการคลังปีงบประมาณ 2564 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2563. สำนักงานนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง.

Krejcie, Morgan. (1970). Determining sample size for research activities Educational and psychological measurement. 30(3), 607 – 610.

Millet, J. D. (1954). Management in the public service. The quest for effective performance. McGraw-Hill Book.

Workpointtoday. (2563). วิเคราะห์”คนละครึ่ง” โครงการสุดปัง ถูกใจผู้ซื้อ โดนใจผู้ค้า พยุงกำลังซื้อได้จริง?. https://workpointtoday.com/half-half-analysis-01/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29