การรับรู้สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
คำสำคัญ:
การรับรู้, ผู้เสียหายในคดีอาญา, สิทธิ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรกับการรับรู้สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 378 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า ระดับการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 42.37 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ ชั้นปี และคณะที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2547). พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 / สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา กระทรวงยุติธรรม.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักงานกระทรวงฯ.
จิดาภา พรยิ่ง และ ริญญาภัทร์ ณ สงขลา. (2564) ความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. วารสารวิชาการนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(9), 71-89.
ชิดชนก ทองไทย. (2556). การรับรู้ และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิรมล ศิริหล้า. (2555). บทบาทผู้บริหาร สถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. https://www. gotoknow.org/posts.
ประพิน นุชเปี่ยม. (2564). การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญา. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา 41717 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพยานชั้นสูง หน่วยที่14, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ประเสริฐ กุลบุตรดี. (2557). ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมพ์ณภัช สิงห์สุวรรณ, กุลปราณี ศรีใย และ อดิศร กุลวาทิต. (2557). การรับรู้สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของประชาชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏรรำไพพรรณี.
พีร์ พวงมะลิต. (2560). ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอย, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
แพรวพรรณ โสมาศรี. (2556). การใช้วิชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริเพ็ญ จันทร์นิยม. (2564). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาในความ เสียหาย ต่อเนื่องอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(1), 165 - 173.
อัจฉรา ฉัตรแก้ว และ โชติ บดีรัฐ. (2564). การรับรู้สิทธิคนพิการตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550: กรณีศึกษาในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสาร พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 6(3),181-192.
อุบลวรรณา ภวกานันท์. (2554). ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมการท่องเที่ยวและที่พัก: ความรู้และโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อการปลูกสร้างและพัฒนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of education. David Mckay Company, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.