การพัฒนารูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด

ผู้แต่ง

  • ประจวบ จันทร มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
  • โสภณา เศวตคชกุล โรงเรียนนานาชาติดาเนียล
  • ชัยวัฒน์ อุทัยเสน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการบริหาร, ความเป็นเลิศ, โรงเรียนมัธยมศึกษา, สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด 2) สร้างรูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 76 คน เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และปัญหาที่เกิดจากการบริหารงานในสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด มีข้อคำถาม จำนวน 35 ข้อ ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) ไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ในลักษณะที่เป็นการปฏิสัมพันธ์ (Interactive interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุม
และละเอียดที่สุด จำนวน 9 คน โดยใช้ข้อคำถาม จำนวน 12 ข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบ โดยให้นำหลักธรรมาภิบาล มาใช้บริหารสนับสนุน ประกอบด้วย 1) หลักความเป็นธรรม 2) หลักความคุ้มค่า 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความรับผิดชอบ 5) หลักการมีส่วนร่วม และปัจจัยส่งเสริมประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำ 2) การทำงานเป็นทีม 3) การบริการที่ดี และเพื่อการตรวจสอบและพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 ประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด โดยอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน และใช้ข้อคำถามแบบเช็ครายการ แบบเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัย การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็น เพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 25- 44 ปี และมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท ระดับการปฏิบัติการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด โดยภาพรวมทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เนื่องจากได้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับด้านเงินฝาก ด้านสินเชื่อเงินกู้และหุ้น และมีการดำเนินการด้านการบริหารอย่างมีคุณภาพ ส่วนปัญหา ในภาพรวมแต่ละด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เช่น ด้านสินเชื่อเงินกู้และหุ้น มีปัญหาอยู่บ้างอาจเป็นเพราะว่าระเบียบและข้อจำกัดในวงเงินกู้ ทำให้กระทบด้านการเงินของผู้ขอกู้ที่มีความต้องการ และจะมีปัญหาด้านธุรการเล็กน้อย เช่น การกำกับติดตามและแจ้งผลการพิจารณาเงินกู้ การพัฒนารูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด พบว่าได้วิเคราะห์บทสรุปจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและได้ให้ข้อเสนอแนะเห็นชอบให้นำองค์ประกอบในการดำเนินงานสหกรณ์ทุกส่วนองค์ประกอบ โดยให้นำหลักธรรมาภิบาล มาใช้บริหารสนับสนุน พร้อมกับปัจจัยส่งเสริม ส่วนการประเมินและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ เห็นด้วยกับรูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำกัด ทุกประเด็นและทุกข้อ

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2546). สถิติการสหกรณ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2546. กรมฯ.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2554). สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ จำกัด. http://www.cpd.go.th.

ชัยยุทธ วัชรานนท์. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. บัณฑิตอักษร.

ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2549). คู่มือการออมและสหกรณ์เครดิต. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย.

นิธินันท์ จันทร์เอียด. (2556). หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์และการธนกิจมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำกัด กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

ปริณภา จิตราภัณฑ์. (2553). นโยบายภาษีที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันเฉลิม เมืองโพธิ์ และนงลักษณ์ สิงห์ก้ำโม้. (2553). ระบบบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ บ้านวังจาน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักพัฒนาธุรกิจสหกรณ์. (2553). แนวทางการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง. กรมส่งเสริมสหกรณ์

อัจฉราพร คำพุฒ (2553). คุณภาพการบริการของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกำแพงเพชร จำกัด: วิเคราะห์เชิงเหตุและผล. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). Harper Collins.

Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30