การพัฒนาการคิดเชิงบริหาร (Executive Function: EF) โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • อภิสรา พันจันดา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อัญชลี ไสยวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พัชราภรณ์ พุทธิกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การคิดเชิงบริหาร, รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารก่อนและระหว่างใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และ 2) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการคิดเชิงบริหารระหว่างใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ประชากรที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 4–5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2565 ที่โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์ จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้น 22 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน คือเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 จำนวน 11 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการทดลองแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว ระยะเวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1 และแบบสังเกตการคิดเชิงบริหาร มีค่าความเชื่อมั่น .80 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

       ผลการวิจัยพบว่า: 1) การคิดเชิงบริหารระหว่างใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 2) การคิดเชิงบริหารระหว่างใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น

References

จุฑามาศ แหนจอน. (2564). จิตวิทยาการรู้คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). แกรนด์พอยท์.

ณัฐยา เกตุสิริ. (2564). การพัฒนาการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมดนตรีกับการเคลื่อนไหวและจังหวะตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพร มะยมหิน. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์). [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2564). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. (พิมพ์ครั้งที่ 14). บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์. (2560, 27 พฤศจิกายน). เด็กไทยร่วม 30% มีปัญหาการคิดเชิงบริหาร. https://www.dailynews.co.th/education/612594.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) และสถาบัน RLG รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป. (2561). พัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับครูปฐมวัย. บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (2563, 28 มกราคม). EF ทักษะฝึกสมองบ่มเพาะลูกน้อย. https://shorturl.asia/z3X2v

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน. บริษัท ไอดีออลดิจิตอลพริ้นท์ จำกัด.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 13). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. [ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30