แนวทางการสืบทอดและพัฒนาการของเพลงพื้นบ้านไห่เหมินในยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • หย่านหรง หวัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รุ่งเกียรติ สิริวงษ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การสืบทอด, การพัฒนาของเพลงพื้นบ้านไห่เหมิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบทอดและพัฒนาการของเพลงพื้นบ้านไห่เหมิน วิธีวิจัยมีการทบทวนวรรณกรรม มีการสำรวจลงภาคสนาม และมีการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์แบบเจาะจง นักวิชาการด้านดนตรี ศิลปินนักแสดงผู้สืบทอดเพลงพื้นบ้านไห่เหมิน และผู้บริหารหลักสูตร รวมทั้งหมด 3 คน

    การศึกษานี้ พบว่า ผลมาจากการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาจากทิศทางของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยของผู้คน รวมทั้งการพัฒนา ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งผลทำให้การสืบทอดเพลงพื้นบ้านไห่เหมิน มีจำนวนผู้ที่ชื่นชอบเพลงพื้นบ้านและผู้ที่ร้องเพลงพื้นบ้านที่ค่อยๆ ลดลง เนื่องจากสถานที่การแสดงของนักดนตรีลดลง รวมทั้งผู้ฟังแนวทางการสืบทอดและการพัฒนาของเพลงพื้นบ้านไห่เหมินกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่มีปัญหา

    ดังนั้นในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการของบทเพลงในยุคปัจจุบัน จะเป็นการพัฒนาและสร้างแนวทางการสืบทอด โดยการสร้างฐานข้อมูลเพลงพื้นบ้าน ไห่เหมินเพื่อใช้ปรับปรุงการเข้าถึงของสาธารณชนในสังคมปัจจุบัน สื่อสมัยใหม่ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรการสอนในโรงเรียน และปรับปรุงพัฒนาผลการปฏิบัติของวัฒนธรรมดนตรีของนักเรียน และการใช้ทรัพยากรเพลงพื้นบ้านของไห่เหมิน เพื่อส่งเสริมการสืบทอดของเพลงพื้นบ้านไห่เหมิน

References

Liu, Y. (2010). Film writers” in real context, Class 6 (1991- 2000). Master's Thesis of Fudan University.

Ministry of Education of the People's Republic of China Music. (2011). Compulsory education curriculum standards. Beijing Normal University Press.

Stewart, J. (2013). About cultural change. Guiyang: Guizhou People's Publishing House.

Wei, Z. & Wang, Z. (2011). Adorno's research on new music theory as a music critic. Journal of Wuhan Conservatory of Music. (3), 66-70.

Yu, A. (2003). History of ancient Chinese music. Shanghai People's Publishing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30