ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระจกประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • พีระสิทธิ์ คุณเลิศอาภรณ์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

กระจกประหยัดพลังงาน, ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ซื้อ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน 2) ปัจจัยความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน และ 3) ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาความสัมพันธ์โดยใช้การถดถอยแบบพหุคูณ
       ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ซื้อ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงาน เมื่อทำการเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ซื้อ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเจตคติ/ทัศนคติ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวม ได้ร้อยละ 11.60 (Adjusted R2 = .116) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ปัจจัยด้านการตลาด ด้านคุณสมบัติของกระจก ด้านราคาของกระจก ด้านความสะดวกในการซื้อ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการให้บริการร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจซื้อกระจกประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรวมได้ร้อยละ 41.10 (Adjusted R2 = .411) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ณัฐณิชา นิสัยสุข และขวัญกมล ดอนขวา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. วารสารวิจัยชุมชน, 2(5), 57-67.

ธนาคารกสิกรไทย. (2017). อานิสงส์ภาครัฐ ดันวัสดุก่อสร้างร้อนแรง. https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/ksmeknowledge/article/ksmeanalysis/pages/government-plan-support-construction-materials-2017.aspx

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2563). รายงานธุรกิจและ อุตสาหกรรมเด่น-เสี่ยง. https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2020/01/IN_Sunrise_Overall_63_detail.pdf

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). รายงานการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) กลุ่มอุตสาหกรรมแก้วและกระจก. www.smi.or.th

สิริพัฒนัญ ชินเศรษฐพงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002031489_9344_9599.pdf

อรุโณทัย แกล้วทนงค์. (2564). ปัจจัยด้านการตลาดที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-1630161842.pdf

IPCC. (2018a). Climate change: New dimensions in disaster risk, exposure, vulnerability, and resilience. https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/2018/03/SREX-Chap1_FINAL-1.pdf

IPCC. (2018b). Strategy for sustainability management in the UN system 2020-2030. https://unemg.org/wp-content/uploads/2019/09/INF_3_Strategy-for-Sustainability-Management-in-the-UN-System.pdf

OECD. (2010). Eco-innovation in industry. https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-7908-2601-2_19.

UNEP. (2020). Resource efficiency and climate change. https://www.resourcepanel.org/reports/resource-efficiency-and-climate-change.

US Department of Energy. (2013). Energy savers tips on saving money & energy at home. https://www.energy.gov/sites/prod/files/2013/06/f2/energy_savers.pdf

U.S. Department of Energy. (2020). Emerging technologies research and development. https://www.energy.gov/sites/prod/files/2020/05/f74/bto-20200504_Draft_Windows_RDO.pdf

WMO. (2020). State of the global climate 2020. https://library.wmo.int/doc_num.php?explnum_id=10618.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28