ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี หงษ์วิจิตร คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ชัยวุฒิ จันมา คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร, กลยุทธ์ธุรกิจ, การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร, กลยุทธ์ธุรกิจ, วัฒนธรรมองค์กร, ศักยภาพด้านความคิดริเริ่ม, ศักยภาพด้านความคิดริเริ่ม

บทคัดย่อ

       การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total quality management) ที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2) กลยุทธ์ธุรกิจ (Business strategy) ที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 3) วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) ที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และเป็นผู้ส่งมอบลำดับที่ 1 รวบรวม จำนวนประชากรในการวิจัยตามรายชื่อของสถาบันยานยนต์ (Thailand automotive institute) โดยมีจำนวน 447 บริษัท ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 282 ชุด โดยใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis: MRA) ใช้สถิติ Adjusted R2, ค่า F, ค่า t เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total quality management) กลยุทธ์ธุรกิจ
       ผลการวิจัย พบว่า การนำเครื่องมือการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร กลยุทธ์ธุรกิจ และวัฒนธรรมองค์กร ทำให้เกิดการจัดการศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรโดยรวม มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นผู้นำ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ของปัจจัยกลยุทธ์องค์กรโดยรวม มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมุ่งเน้นด้านต้นทุน มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรโดยรวม มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัฒนธรรมแบบลำดับชั้น มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ(Multiple regression analysis: MRA) พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรทั้ง 6 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 52.10 โดยสามารถอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านความเป็นผู้นำที่เปลี่ยนไป 1 หน่วยวิเคราะห์ จะส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เปลี่ยนไป .293 หน่วยวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม พบว่า ด้านความเป็นผู้นำ มีน้ำหนักมากที่สุด
       ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์ธุรกิจ ทั้ง 3 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม ได้ร้อยละ 64.40 โดยสามารถอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การมุ่งเน้นด้านต้นทุน ที่เปลี่ยนไป 1 หน่วยวิเคราะห์ จะส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เปลี่ยนไป .317 หน่วยวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม พบว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การมุ่งเน้นด้านต้นทุน มีน้ำหนักมากที่สุด
       ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม ได้ร้อยละ 72.10 โดยสามารถอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมแบบการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไป 1 หน่วยวิเคราะห์ จะส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เปลี่ยนไป .260 หน่วยวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อศักยภาพด้านความคิดริเริ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรวม พบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรแบบการเปลี่ยนแปลง มีน้ำหนักมากที่สุด

References

ศุภวิศวร์ ปัญญาสกุลวงษ์; และกฤษณ์ แย้มสระโส. (2561). ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร. https://thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=1&ID=1007.

Acar, A. Z., & Acar, P. (2012). The effects of organizational culture and innovativeness on business performance in healthcare industry. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 58, 683-692.

Chaudhry, N.I., Awan, M.U., Bilal, A. & Ali, M.A. (2018, June). Impact of TQM on organizational performance: The mediating role of business innovativeness and learning capability. Journal of Quality and Technology Management, 15(1), 1-36.

Dararuang, K. (2016, May-August). Perceptions of individual-level of organizational culture and knowledge management influencing on innovations within KTIS Group. Journal of the Association of Researchers, 21(2), 58-68.

Dibrell, C.; & Moeller, M. (2011). The Impact of a service-dominate focus strategy and stewardship culture on organizational innovativeness in family-owned business. Journal of Family Business Strategy, 2(1), 43-51.

Hafeez, M. H., Basheer, M. F., Rafique, M. & Siddiqui, S. H. (2018). Exploring the links between TQM practices, business innovativeness and firm performance: An emerging market perspective. Pakistan Journal of Social Sciences, 38(2), 485-500.

Ferraresi, A. A., Quandt, C. O., dos Santos, S. A. & Frega, J. R. (2012). Knowledge management and strategic orientation: leveraging innovativeness and performance. Journal of Knowledge Management, 16(5), 688-701.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lee, V. H., Ooi, K. B., Tan, B. I. & Chong, A. Y. L. (2010). A structural analysis of the relationship between TQM practices and product innovation. Asian Journal of Technology Innovation, 18(1), 73-96.

Ulusoy, G., Günday, G., Kılıç, K.. & Alpkan, L. (2013). Business strategy and innovativeness: results from an empirical study. In Advances in Production Management Systems. Competitive Manufacturing for Innovative Products and Services: IFIP WG 5.7 International Conference, APMS 2012, Rhodes, Greece, September 24-26, 2012, Revised Selected Papers, Part I (pp. 685-692). Springer Berlin Heidelberg.

Valmohammadi, C. & Roshanzamir, S. (2015). The guidelines of improvement: Relations among organizational culture, TQM and performance. International Journal Production Economics, 164, 167-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28