แนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ธุรกิจเพื่อสังคม, ระบบนิเวศทางธุรกิจ, วิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาของการประกอบการ ระบบนิเวศทางธุรกิจ ระบบการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของการประกอบการ เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคมจำนวน 5 ราย ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อนำมาเสนอแนะแนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทย ในประเทศไทย

         ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน สามารถอยู่รอดได้จากการผลักดันของกลุ่มผู้ก่อตั้งทั้งในด้านเงินทุนและความสามารถในการประกอบการ ซึ่งการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานต้องใช้ระยะเวลาในมากในการศึกษาร่วมกันและอาจมีเป้าหมายที่ไม่ตรงกัน นอกจากนี้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยังมีจำกัดอันเนื่องจากความไม่มั่นใจธุรกิจเพื่อสังคมของสถาบันการเงินและความไม่สมบูรณ์ของแผนธุรกิจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยระบบนิเวศธุรกิจของเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน จะมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงและเข้าถึงผู้บริโภคได้ยากกว่าจากความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักและเชื่อมั่น โดยยังขาดผู้สนับสนุนด้านเทคนิคในการผลิต การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้การดำเนินเรื่องราวที่สอดคล้องกับชุมชนเพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งจะดำเนินการได้ภายใต้งบลงทุนที่ผู้ก่อตั้งมีอยู่ ระบบการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของธุรกิจเพื่อสังคม เป็นการจัดการองค์การที่ไม่สลับซับซ้อน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่โดยเน้นการทำงานผ่านแพลตฟอร์ม และทำการพัฒนาตราสินค้าเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยอาศัยแรงงานที่เน้นความชำนาญเฉพาะด้าน หรือการจ้างผู้รับเหมาเพื่อให้ลูกค้าได้ผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการและสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับชุมชน โดยแนวทางการจัดการระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเป้าหมายเมืองและชุมชนที่ยั่งยืนในประเทศไทยคือ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมของธุรกิจเพื่อสังคมและสถาบันการศึกษาการส่งเสริมให้เกิดคนกลางเพื่อจับคู่ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมกับศักยภาพของชุมชน และการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม เพียงพอ และเข้าใจบริบทในการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป). เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/

McKee, D. O., Varadarajan, P. R., Pride, W. M. (1989). Strategic adaptability and firm performance: a market-contingent perspective. Journal of Marketing, 53(3), 21-35.

Motoyama, Y. & Knowlton, K. (2017), Examining the connections within the startup ecosystem: a case study of St Louis, Entrepreneurship Research Journal, 7(1), 3-23.

Shwetzer, Claudia, Maritz, Alex & Nguyen, Quan. (2019). Entrepreneurial ecosystems: a holistic and dynamic approach. https://www.emerald.com/insight/publication/issn/2631-357X

Spigel, B. (2017), The relational organization of entrepreneurial ecosystems, Entrepreneurship Theory and Practice, 41(1), 49-72.

Stam, E. (2015), Entrepreneurial ecosystems and regional policy: a sympathetic critique, European Planning Studies, 23(9), 1759-1769.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30