รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหารสู่ความเป็นเลิศ , โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา , ภาคเหนือของประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย 2) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย และ 3) นำเสนอรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้สอนของสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือ จำนวน 693 คน และกลุ่มผู้บริหารสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชนและผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จำนวน 14 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย ตัวแปรที่ได้จากการประมวลแล้ว จำนวน 75 ตัวแปร 2) รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมุ่งเน้นบุคลากร การวางเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม การใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ และการให้คุณค่าแก่ผลลัพธ์ และ 3) ผลการนำเสนอรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 16 ปัจจัย
References
กนกวรรณ ภูษาแก้ว (2557). การนำเสนอแนวทางการกำหนดกลยุทธ์การจัดการศึกษาสำหรับสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
กฤชณรงค์ ด้วงลา (2562). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา. [ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกษศิริ กมล และชญาพิมพ์ อุสาโห (2557). การวิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศในประเทศไทยตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 84-97.
จักรกฤษณ์ หาญชัย. (2565). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่อการบริหารสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 22(1), 57-72.
จุไรรัตน์ กีบาง. (2563). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์. [ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชยาภร สารีรัตน์. (2562). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. [ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐมนต์ ชาญเชิงค้า. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2560, 13(1), 81-96.
พระธีรพัฒน์ กุลธีโร และพระมหาเผด็จ จิรกุโล. (2564). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนวัตกรรมการพัฒนาจิตและปัญญา, 1(1), 44-49.
พระครูนิมิตกิจจาทร (แดง ทองขำ). (2565). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนพระปริยัติธรรมสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาเขต 2. Journal of Social Science and Cultural, 7(4), 214-232.
พระโฆษิต โฆสิตธมโม. (2565). รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาเขต 5. วารสารมจรบาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(3), 1-14.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2559). องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 2559, 22(4), 551-563.
ภาณุภัทร ลิ้มจำรูญ. (2563). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม. [ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลิขนะ พงศาปาน. (2561). การพัฒนาระบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(4), 530-539.
วีรชน บัวพันธ์ สุเมธ งามกนก และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ ด้านการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(2), 84-99.
ศักดิ์ รุ่งแสง. (2565). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 358-376.
สังวรณ์ งัดกระโทก. (2562). การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อศึกษามูลค่าเพิ่มทางการศึกษาความยั่งยืนของผลการปฏิรูปและผลกระทบของการปฏิรูปต่อมูลค่าเพิ่มทางการศึกษาและพัฒนาการของคุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 17(1), 1-14.
สุดใจ ดิลกฑรรศนนท์. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาพพิมพ์.
สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน.Journal of educational administration burapha university, 5(1), 36-49.
สุริโย ปุริโส. (2562). การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ปฏิบัติเป็นเลิศ เขตตรวจราชการที่ 12 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : พหุกรณีศึกษา. [ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570). https://shorturl.asia/Objf9.
อำพล นววงศ์เสถียร และภัทรดา รุ่งเรือง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสนามกอล์ฟของนักท่องเที่ยวกลุ่มกอล์ฟชาวไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Journal of Business Administration the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 8(1), 154-173.
อุทุมพร สมศรี, (2560). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (3126-3133). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Brasington, D. M. (2007). Private schools and the willingness to pay for public schooling. Education Finance and Policy, 2(2), 152-174.
Claude Ah‐Teck, J., & Starr, K. (2013). Principals’ perceptions of “quality” in Mauritian schools using the Baldrige framework. Journal of Educational Administration, 51(5), 680-704.
Chianvenato, I. (2009). Comportamiento Organizacional, la dinámica del éxito en las organizaciones. McGraw Hill.
Hamid Ab, M. R. B. (2015). Value-based performance excellence model for higher education institutions. Quality & Quantity, 49, 1919-1944.
Islam, O. S., Ashi, M., Reda, F. M., & Zafar, A. (2017). Strategic knowledge management as a driver for organizational excellence: A case study of Saudi Airlines. International Journal of Modern Education and Computer Science, 9(7), 38.
Jaikaew, P., Suntawan, T., & Yafu, S. (2022). A Model of the Need for Artificial Intelligence Using on the Administration of World-Class Standard Secondary School. Journal of Positive School Psychology, 6417-6424.
Jarr, K. A. (2012). Education practitioners' interpretation and use of assessment results. [Unpublished doctoral dissertation]. University of Iowa.
Koowattanatianchai, N., Charles, M. B., & Kortt, M. A. (2023). What sorts of public value are Thai public business schools aiming to realise?. Australian Economic, 63(2), 370-402.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Rompho, N. (2020). The balanced scorecard for school management: case study of Thai public schools. Measuring Business Excellence, 24(3), 285-300.
Savage, M. (2003). Review essay: a new class paradigm? British journal of sociology of education, 24(4), 535-541.
Sinlarat, P. (2020). The path to excellence in Thai education. RICE Journal of Creative Entrepreneurship and Management, 1(2), 60-75.
Wheelen, T. L., Hunger, J. D., Hoffman, A. N., & Bamford, C. E. (2018). Strategic management and business policy: globalization, innovation, and sustainability. (15th ed.). Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.