การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้วเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ข้าวเกรียบแห้ว, ศักยภาพทางการตลาด, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้วเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง 2) สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ และ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้วของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่ วังยางให้เหมาะสมเพื่อขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และสร้างแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method) โดยทำการสนทนากลุ่มกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง จำนวน 12 คน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้ว เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด และทำแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภค โดยนำตัวอย่างข้าวเกรียบไปให้ผู้บริโภคทาน แบบ Blind test เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคอย่างแท้จริง จากผู้บริโภคจำนวน 34 คน
ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยางยังขาดความรู้ด้านการตลาดและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ จากแบบสอบถามผู้บริโภคพบว่า ร้อยละ 67.6 ชอบข้าวเกรียบจากแห้วเพราะไม่คาวและไม่เค็มเท่าข้าวเกรียบเนื้อสัตว์ และพบว่าสิ่งที่ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้ากลุ่ม วันรุ่นและวัยทำงานคือ การลดขนาดลงให้พอดีคำ ปรับรสชาติให้เข้มข้นหรือชัดเจน โดยให้มีเอกลักษณ์มากขึ้น รสชาติที่พัฒนาขึ้นใหม่โดยอ้างอิงจากรสชาติยอดนิยมสำหรับขนมไทยคือ รสสาหร่าย และรสบาบีคิว โดยมีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากชนิดถุงฟอยด์สีเงินด้านหน้าใส พัฒนาปรับปรุงเป็นแบบถุงกระดาษคราฟต์สีน้ำตาลเจาะหน้าต่างใส และปรับเปลี่ยนฉลากสินค้าสร้างเอกลักษณ์ใหม่ให้มีสีสัน
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. https://shorturl.asia/L34TV
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิจัยจากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ณัฐพัศพนธ์ แสวงทรัพย์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมหลังการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในตลาดนัดชุมชน ในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อุทิศ สังขรัตน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 97-122.
ธนวรรณ มุสิกา, จิรายุ มุสิกา และพนารัตน์ สังข์อินทร์. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาสวายรสลาบ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ, 3(2), 1-13.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2562). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในประชาคมอาเซียน. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 10(1), 95-120.
ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ, อัครนัย ขวัญอยู่, ธีระวัฒน์ เจริญราฎร์, พิริยะ ผลพิรุฬห์ และกิตติศักดิ์ ศรีแจ่มดี. (2565). การวิเคราะห์ Smiling Curve ในวิสาหกิจชุมชน: หลักฐานเชิงประจักษ์จากผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดหนองคาย. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 16(2), 41-74.
เปรมประชา ดรชัย, รจนา ภูสมตา, อรปรียา ปะตาทะโย และพรพิษณุ ธรรมปัทม์. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบเสริมมันเทศและโปรตีนจากแมลง. วารสารเกษตรพระวรุณ, 20(1), 11-18.
ผกาวดี ภู่จันทร์, โสรัจวรชุม อินเกต, ไพรวัลย์ ประมัย และสุสิตรา สิงโสม. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบฟักทองรสต้มยำ. PSRU Journal of Science and Technology, 4(3), 15-26.
พรทิพย์ โกมลปาณิก, สุทธิรัก แซ่ลิ่ม และเชาวลิต อุปฐาก. (2565). การพัฒนาสูตรข้าวเกรียบรสแกงเขียวหวาน. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(2), 57-66.
สวรรยา ธรรมอภิพล, วุฒิชัย สุวรรณประทีป และศรสวรรค์ ศรีนวล. (2559). พลวัตและการปรับตัวของเกษตรกรนาแห้ว จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 3(2), 87-100.
สุธิดา เลขาวิจิตร์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อการส่งเสริมการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 200-217.
อัจจิมา ศุภจริยาวัตร และ สิทธิ จิตติชานนท์. (2562). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดสระแก้วเพื่อการส่งออก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ กองทุนวิจัยและพัฒนา งบประมาณเงินรายได้ส่วนโครงการจัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัรฮาวี เจ๊ะสะแม และยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 79-90 .
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). “วิสาหกิจชุมชน” ปฏิทรรศน์ในการแข่งขันทางธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(2), 131-150.
Guenzi, P., & Troilo, G. (2006). Developing marketing capabilities for customer value creation through marketing–sales integration. Industrial Marketing Management, 35, 974–988.
Mocănașu, Daniela Rusu. (2020). Determining the sample size in qualitative research. International Multidisciplinary Scientific Conference on the Dialogue between Sciences & Arts, Religion & Education, 4(1), 181-187.
Saleh M, Alharbi Adel. (2015). The role of marketing capabilities in firm’s success.International Journal of Management Science and Business Administration, 2(1), 56-65.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.