ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • เจษฎากร อังกูลพัฒนาสุข คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภัทรา วยาจุต คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย, ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2566-2567 และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 400 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ มีความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .856 และ .818 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression analysis) ด้วยวิธี Enter regression

       ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนะดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานะทางการเงิน ประสบการณ์ขับขี่รถจักรยานยนต์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ เจตคติสนับสนุนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ 2) ปัจจัยด้านอิทธิพลจากสิ่งรอบข้างบุคคล ได้แก่ อิทธิพลของสื่อ อิทธิพลจากคนรอบข้าง กฎระเบียบสถานศึกษา สถานภาพทางครอบครัว โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เช่น กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนเป็นเพศชายและหญิงใกล้เคียงกัน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.75 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 47.50 ภาพรวมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยนต์ปานกลาง (equation= 13.75, S.D. = 1.253) มีเจตคติสนับสนุนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ ด้านการสวมหมวกนิรภัย ค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (equation=4.52, S.D.=.742) อิทธิพลของสื่อ ด้านความคิดว่าสื่อสามารถให้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (equation= 4.23, S.D. = .837) กฎระเบียบสถานศึกษา ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้วยตนเองเพราะเป็นสิ่งที่ควรทำ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (equation= 4.15, S.D. = .978) ส่วนระดับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของกลุ่มตัวอย่างภาพรวม อยู่ในระดับมาก (equation= 3.92, S.D. = .936) พิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยอยู่ในระดับมาก ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย มีด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยอิทธิพลของสื่อ (p-value = .000) ปัจจัยกฎระเบียบสถานศึกษา (p-value = .010) และปัจจัยสถานภาพทางครอบครัว (p-value = .029) ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 30-70 (R Square = .307)

References

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. (2564). อัตราการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ใช้รถจักรยานยนต์และอัตราการสวมหมวกนิรภัยทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารจากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ. https://shorturl.asia/vKAX8.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 16. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ขจี ดวงจักร ณ อยุธยา และรัชยา ภักดีจิตต์. (2562). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยตามกฎหมายของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนสังกัดเทศบาล ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11 (1), 163-171.

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2556). เอกสารเผยแพร่ความรู้สาเหตุของอุบัติเหตุจราจรทางบกและหลักสำคัญ. https://shorturl.asia/fjl8i

ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ และณีรนุช วงค์เจริญ. (2564). อิทธิพลของสื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 199-210.

แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด [สอจร]. (2565). รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนประเทศไทยปี 2565 Thailand National Status Report on Road Safety 2022. www.rswgsthai.com/viewActivity.php?h=446.

มูลนิธิไทยโรดส์ และ ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. (2565). รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย 2561-2564. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

วิชญารัตน์ สิทธิเวทย์. (2556). มุมมองการใช้ชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่ตัวตนเดียวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด].มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). จำนวนนักเรียน นักศึกษาประเภทอาชีวศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. www.catalog.moe.go.th/dataset/dataset-15_18.

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. (2562). Prime Minister Road Safety Awards. หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.

สำนักข่าว TODAY Writer. (2566). สสส.-สอศ. จับมือ MOU หนุนแกนนำอาชีวะร่วมป้องกันเหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ. www.workpointtoday.com/thaihealth-vocational-student.

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2564). มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). เอกสารในการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565-2570 ส่วนกลางครั้งที่ 1 เสนอที่โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน. กรุงเทพมหานคร 2 ธันวาคม 2564. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่), หน้า 5.

สำนักข่าวสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). MOU ขับเคลื่อนสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพความปลอดภัยทางถนนสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระยอง. www.thaihealth.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ). (2562). คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่องมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ในทางและความปลอดภัยทางถนน. https://shorturl.asia/EIeGu.

เอมอัชนา นามสาย. (2562). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อบันเทิงและพฤติกรรมการเลียนแบบของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Krejcie & Morgan. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29