การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาการออกแบบและเทคโนโลยีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ 75% 2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนกับคะแนนเกณฑ์ 75% รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One-group pretest posttest กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 23 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สุ่มเลือกแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จากประชากร 57 คน ที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 34 คน และ 5/2 จำนวน 23 คน โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ที่ผ่านการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีความเหมาะสม (= 4.18, S.D. = 0.48) และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงงานโคมไฟรูปทรง 3 มิติ ปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.71 ค่าอำนาจจำแนกของ (B) ตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.71 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยวิธีของ Lovett เท่ากับ 0.90 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความเหมาะสมระดับมาก (= 4.18, S.D. = 0.48 ) ค่าความเที่ยงทั้งฉบับโดยวิธีของ แอลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.71 ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติทดสอบ t (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ กำหนด 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01.
2) คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สูงกว่าคะแนนเกณฑ์กำหนด 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01.
References
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). พิมพ์เขียวThailand 4.0 โมเดล ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. กองฯ.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาวุฒิ ลาตวงษ์. (2561). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) รวมกับเทคนิค KWDL. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยะนันท์ ธีรานุวัฒน์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 5(2), 322-336.
พงศ์พิชญ์ เฮ้าปาน. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ คิดวิเคราะห์ เรื่องดาวฤกษ์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สาหรับ ผู้เรียนในยุคThailand 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(2), 2363-2380.
พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องภัย พิบัติทางธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E). Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(1), 1349-1365.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2561). การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด: PLC ภาคปฏิบัติจริงในโรงเรียน (Open approach Lesson Study: An Authentic PLC Practice in School). เอกสารประกอบการอบรมเรื่องกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 12; 24-25 มีนาคม 2561;ขอนแก่น.
วรรณพร สารัง และอิทธิวัตร ศรีสมบัติ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่องพัฒนาการของอาเซียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนัก นายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
สุภาพร พรไตร. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 5(1), 11-20.
อนุตรา อินทสอน และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 142-159.
อาตีเก๊าะห์ บาโง. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้การสืบพันธุ์ของพืชของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการระดับชาติ การเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6 . มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
Campbell, D. T. & Stanley. J. C. (1969). Experimental and quasi-experimental designs for research. Rand McNally & Company.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). Harper Collins Publishers.
Christopher, D. W. et al. (2009). The relative effects and equity of inquiry‐based and commonplace science teaching on students' knowledge, reasoning, and argumentation. https://shorturl.asia/R8ID4.
Musheno, B. V. & Lawson, A. E. (1999). Effects of learning cycle and traditional text on comprehension of concepts by students at differing reasoning levels. Journal of Research Science Teaching, 36(1), 23-37.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: theory, research and practice. (2nd ed.). Allyn and Bacon.
Tajari, Tayebeh, & Haghani, Fariba. (2013). Comparison of effectiveness of synectics teaching methods with lecture about educational progress and creativity in social studies lesson in Iran at 2010. Journal of Procedia-Social and Behavioral Sciences, 28(2011), 451–454.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.