การศึกษาส่วนประสมการตลาด 7P ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละเจเนอเรชั่น (Generation XYZ)

ผู้แต่ง

  • เพียรใจ โพธิ์ถาวร บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ ธุรกิจระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด 7P, พฤติกรรมการใช้บริการเสริมความงาม, เจเนอเรชั่น

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะการใช้บริการเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละเจเนอเรชั่น 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของส่วนประสมการตลาด 7P และพฤติกรรมการใช้บริการเสริมความงามระหว่างเจเนอเรชั่น และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาด 7P ที่มีต่อพฤติกรรมการใช้บริการเสริมความงามในแต่ละเจเนอเรชั่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จากผู้บริโภคในประเทศไทยที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508 – 2555 ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota sampling) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เจเนอเรชั่น X จำนวน 200 ราย, เจเนอเรชั่น Y จำนวน 200 ราย และเจเนอเรชั่น Z จำนวน 200 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณเชิงชั้น

       ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบและลักษณะการใช้บริการเสริมความงามแตกต่างกันในแต่ละเจเนอเรชั่น ทั้งในด้านวัตถุประสงค์ ช่วงเวลา และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ แหล่งข้อมูลที่ใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจมากที่สุดมาจากสื่อโซเชียลมีเดีย 2) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเสริมความงามแตกต่างกันในแต่ละเจเนอเรชั่น 3) ส่วนประสมการตลาดแต่ละด้านส่งผลต่อผู้ใช้บริการ ที่มีเจเนอเรชั่นต่างกันแตกต่างกันออกไป โดยมีส่วนประสมการตลาด 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเสริมความงามของ Gen X ประกอบด้วย ด้านสินค้า/บริการ ช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ สำหรับ Gen Y ได้รับอิทธิพลจากส่วนประสมด้านช่องทางการจำหน่าย และ Gen Z ได้รับอิทธิพลด้านสินค้า/บริการ และกระบวนการ โดยปัจจัยด้านราคาไม่ได้มีอิทธิพลในเจเนอเรชั่นใดเลย

References

กฤตช์ติพัชร ศรีสุคนธรัตน์. (2564). ปัจจัยในการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามและคลินิกศัลยกรรมความงามของกลุ่มลูกค้าเพศชายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ขวัญสุดา คำเหล็ก. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการที่จะเสริมความงาม จาก Stem cell ที่ประเทศญี่ปุ่น ของคลีนิค Ginza Bereage ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชัยวัฒน์ หฤทัยพันธ์ และ วรพล แจ่มสวัสดิ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์, 9(1), 29-39.

ธิดารัตน์ ภูมิชัยสิทธิ์. (2562). การตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้หญิงวัยทำงาน ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บริษัท มาร์เก็ตเธียร์ จำกัด. (2565). ตลาดเสริมความงามไทย 2566 ได้อานิสงส์จากการเปิดประเทศ?. https://marketeeronline.co/archives/292227.

ผลินสุ อังศุนากุล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำของคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในยุค New Normal. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชรี ผาสุข, รณกร กิตติพชรเดชาธร และรุจิรา สุวรรณเขต. (2566). การเปรียบเทียบพฤติกรรม ผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและการจัดการปริทัศน์, 15(1), 47-61.

รุ่งนภา กิตติลาภ, อุมาวรรณ วาทกิจ และร่มสน นิลพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงาม ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 6(1), 60-74.

ศศิธร ภูศรี, พัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการใช้บริการคลินิกเสริมความงาม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(4), 1-12.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ตลาดศัลยกรรม และเสริมความงาม...แข่งขันรุนแรง เพื่อแย่งชิงลูกค้าที่มีศักยภาพ. https://shorturl.asia/gjh2i.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ . (2566). เปิดมุมมองความสวยยุคใหม่....โอกาสเติบโตของเวชศาสตร์ความงาม. https://shorturl.asia/R8ID4.

สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ, ณัฐธยาน์ มีพรหม และ ลลิล วราวุฒิ.(2565). ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำที่ขยายฐานปฏิบัติการบินใหม่ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 38-54.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). Generation Thai & ICT. https://shorturl.asia/1Ucrh.

Beresford Research. (2024). Age range by generation. https://shorturl.asia/9dFGD.

Cohen, J. L. et al. (2023). Decades of beauty: Achieving aesthetic goals throughout the lifespan. Journal of Cosmetic Dermatology. Wiley Periodicals LLC, 2889-2901. DOI: 10.1111/jocd.15968.

Cronbach, L. J. (1984). A research worker's treasure chest. Multivariate Behavioral Research, 19(2-3), 223–240.

Eaude, T. (2023). Reflections on how young children develop a sense of beauty and should be guided in doing so. British Journal of Educational Studies, 71(6), 663-678.

Kotler, P. & Armstrong G. (2018). Principle of Marketing. (17th ed.). Pearson Education Limited.

National Health Security Office. (2019). Survey results on the behavior of visiting aesthetic clinics by a sample group of 9,351 people in 2019 by honestdocs. https://hd.co.th/beauty-clinic-survey-2019.

Payne, A. (1993). The Essence of services marketing: The essence of management series. Prentice-Hall.

Roscoe, J. T. (1975). Fundamental research statistics for the behavioral sciences. (2nd ed.). Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Schiffman, Leon G., & Kanuk, Leslie L. (2007). Customer Behavior. (9th ed.) Pearson Prentice Hall.

Strauss, W. & Howe, N. (1991). Generations: the history of America's future, 1584 to 2069. William Morrow & Company.

The Center for Generational Kinetics. (2024). Generational birth years. https://genhq.com/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29