การทดสอบภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน
คำสำคัญ:
การเปรียบเทียบเป็นรายคู่, วิธี LSD, วิธี Tukey-Kramer, วิธี Scheffe’บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอสาระเกี่ยวกับวิธีเปรียบเทียบรายคู่ หรือการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison) สำหรับงานวิจัยที่มีการศึกษาประชากรมกกว่า 2 กลุ่ม บางครั้งก็เรียกว่า Post hoc comparisons เพราะเป็นการตรวจสอบหลังจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA: Analysis of variance) ด้วยสถิติทดสอบ F หรือ F-test แล้วพบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม (Omnibus test) มีความแตกต่างกัน จึงต้องทำการตรวจสอบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างคู่ใดบ้างที่แตกต่างกัน ซึ่งวิธีการตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบเป็นรายคู่มีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อตกลง มีวัตถุประสงค์และคุณลักษณะเฉพาะในการเปรียบเทียบแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ผู้วิจัยควรพิจารณาเลือกใช้วิธีการเปรียบเทียบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลและลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้ผลของการตรวจสอบสมมติฐานที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และตอบปัญหาการวิจัยได้ชัดเจนมากที่สุด ในที่นี้ผู้เขียนนำเสนอวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณที่นักวิจัยส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในการตรวจสอบความแตกต่าง 3 วิธี คือ วิธี LSD วิธีTukey-Kramer และวิธี Scheffe’ และยกตัวอย่างขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์จากโปรแกรม SPSS ด้วยวิธี Scheffe’ และการนำเสนอการแปลผลการวิจัย
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภาพร ขำสะอาด. (2552). อำนาจการทดสอบของการใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2557). วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่หลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. มหาสารคาม: 8(1): 23-30.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2560). การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบรวมเพื่อการวิจัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 9(2): 51-70.
Clinch, J. J., & Keselman, H. J. (1982). Parametric alternatives to the analysis of variance. Journal of Educational Statistics. 7(3): 42-43.
Cochran, W.G. & Cox, G.M. (1976). Experimental Design. John Wiley and Sons.
Fisher, R. A. (1959). Statistical Methods and Scientific Inference. Oliver and Boyd.
Kirk, R. E. (1995). Experimental design: Procedures for the behavioral sciences. (3rd ed.). Thomson Brooks/Cole Publishing Co.
Henry Scheffe. (1953). A Method for Judging all contrasts in the analysis of variance. Biometrika. 40(1-2): 87-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.