การพัฒนาทักษะการเขียนตามจินตนาการด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT โรงเรียนในเครือขจรเกียรติ จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ ขวัญเมือง นักศึกษาหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
  • ประภาศ ปานเจี้ยง อาจารย์ประจำหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
  • ชุติมา ทัศโร อาจารย์ประจำหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ทักษะการเขียนตามจินตนาการ, แบบฝึกทักษะ, เทคนิค Team Games Tournament

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการเขียนตามจินตนาการ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติและเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขจรเกียรตินานาชาติ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มทดลอง 1 ห้อง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 25 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ                    แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนตามจินตนาการ แบบวัดทักษะการเขียนตามจินตนาการก่อนและหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกร่วมกับเทคนิค TGT สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

ผลการวิจัยพบว่า

1) ทักษะการเขียนตามจินตนาการ หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติและเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ทักษะการเขียนตามจินตนาการหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT สูงกว่าวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.65, S.D. = 0.46)

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2558). สถาบันภาษาไทย. การเรียนการสอนปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพร ดวงพรกชกร. (2559). การเปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้ทางสายตาของเด็กในระดับก่อนวัย เรียน ที่มีความบกพร่องทางกาได้ยินที่ฝึกทักษะด้วยการเล่นเกมและการใช้แบบฝึก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพชรรัตน์ ยุรี. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิไล มาศจรัส. (2539). เทคนิคการเขียนการเล่านิทานสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: มิติใหม่.

ศิริพร จึงรัศมีพานิช. (2554). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานระหว่างเทคนิค กลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และเทคนิคกลุ่มเกมการแข่งขัน (TGT) วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). ค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566, จาก http://www.niets.or.th.

สายใจ ภูสีเขียว. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนภาพความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

สารสิน เล็กเจริญ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT กับการสอนแบบปกติ.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร

Joyce and Showers (1991). The Relationship Between Selected Student Team Learning Strategies and Student Achievement and Attitude In Middle School Mathematic Cooperative Learning Learning Strategies. Dissertation Abstracts International. 52:401-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30