ปัญหาการปฏิบัติใช้พินัยกรรมของชาวมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
ปัญหา, พินัยกรรม, มุสลิม, จังหวัดยะลาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับพนัยกรรมในอิสลาม 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับการปฏิบัติจริงในการทำพินัยกรรมของชาวมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดยะลา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเอกสารและวิจัยภาคสนาม การวิจัยเอกสารผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยยึดหลักฐานจากอัลกุรอาน อัลหะดีษ และทัศนะของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักการ เงื่อนไข และวิธีการทำพินัยกรรมตามบทบัญญัติของอิสลาม ตลอดจนศึกษาค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากอินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลสารสนเทศ อื่นๆ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์และสรุปผล ส่วนการวิจัยภาคสนาม ผู้วิจัยใช้วิธีการสำรวจกลุ่ม ตัวอย่างจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติแบบร้อยละ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์ได้แก่ อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 20 คน และกลุ่มตัวอย่างโดยการทำแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการมัสยิด และมุสลิมและมุสลิมะฮฺในอำเภอเมืองจังหวัดยะลา จำนวน 130 คน ผลของการวิจัยในครั้งนี้พบว่า พินัยกรรมเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งกฎหมายอิสลามได้ให้การยอมรับ ถือเป็นสุนนะฮฺสำหรับผู้ที่มีทรัพย์สินมากมายและทายาทของเขาไม่ใช่ผู้ที่ยากจนขัดสนให้เขาทำพินัยกรรมจากทรัพย์สินของเขาแก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาทโดยไม่เกินหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมด และปัญหาอุปสรรคในการทำพินัยกรรมของมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดยะลา เกิดจากความไม่เข้าใจหลักการและกระบวนการในการทำพินัยกรรมตามรูปแบบของอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะระหว่างมรดกกับพินัยกรรม ขาดผู้รู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลาม ในบางพื้นที่ และองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรวมถึงอิหม่ามแต่ละมัสยิดไม่ได้ประสานความร่วมมือในการร่างกฎระเบียบเพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมในอิสลามให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนมุสลิมในพื้นที่ และแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับการปฏิบัติจริงในการทำพินัยกรรมของมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดยะลานั้นโดยจัดให้มีการเรียนการสอนองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลามในสถาบันภาครัฐ และเอกชนทุกระดับ
References
จารึก เซ็นเจริญ & มุหัมมัด พายิบ. (2557). ศาสนาอิสลาม. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศูนย์หนังสืออิสลาม
บรรจง บินกาชัน. (2547). อิสลามวิถีแห่งสันติ. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : อัล อะมีน
มนตรี ยอดปัญญา. (2554). กระบวนพิจารณาคดีแบบรวบรัด. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
มุนีร มูหะหมัด. (2551). กฎหมายอิสลานเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัทออฟเซ็ทจำกัด.
มุหัมมัด อัต-ตุวัยญีรีย์. (2552). หลักคิดชาตินิยมและมรดกวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาสังคมทันสมัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12. (2567, 2 กุมภาพันธ์). ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปัตตานี. สืบค้นจาก : ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขSongkhla
อรุณ บุญชม. (ม.ป.ป.). อัลฟิกฮ (มิติศาสตร์อิสลาม). กรุงเทพฯ: มานพวงศ์เสงี่ยม.
อับดุลวะฮาบ เฮาวาส. (2555). การแบ่งมรดกตามแบบอิสลาม. แปลโดย อับดุลลอฮ โต๊ะมิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพื่อนไคโร.
อิสมาแอ อาลี. (ม.ป.ป.). กฎหมายมรดกและพินัยกรรมอิสลาม. ปัตตานี: ภาควิชาอิสลามศึกษา
Baka, D., Lehheem, K. (2008). A study of the thai muslim youth's way of life to maintaining peace in the three southern border provinces of Thailand [Master’s thesis]. Prince of Songkla University. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7311
Bunsit, A. (1982). Studies problems and roots of the unrest situation in three Southern provinces. Faculty of Sociology and Anthropology, Mahidol University.
Hamzah, A. (1999). paa-rá-gìt kŏng pôo bpà-dtì-bàt ngaan pêuua ìt-sà-laam [The Duties of Officer for Islam]. Ad-Dahwah Journal. 2(15), 10-11.
Islamic Astronomy Center: IAC. (2008). kôr moon péun tăan [The Basic information]. Islamic Astronomy Center: IAC.
Narathiwat Provincial Office. (2008). kôr moon péun tăan [The Basic information]. Narathiwat Provincial Office.
Pattani Provincial Office. (2008). kôr moon péun tăan [The Basic information]. Pattani Provincial Office.
Saleh, R. (2001). Study on social aspects in culture of Southern Thailand with reference to Buddhist and Islamic sociological relations. The Thailand Research Fund (TRF).
Suthisat, A. (1981). bpan-hăa kwaam kàt yáeng nai sèe jang-wàt pâak dtâi [The Problems in Four Southern Border Provinces of Thailand]. Pitak Prasha printing.
Yala Provincial Office. (2008). kôr moon péun tăan [The Basic information]. Yala Provincial

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Hamdan Datu, Ahmad Hanafi Wonglee

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Proposed Creative Commons Copyright Notices