รูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา

ผู้แต่ง

  • มธุชรี เพชรกล้า นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, จังหวัดยะลา
  • จรุณี เก้าเอี้ยน อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, จังหวัดยะลา
  • พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและตัวแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา 2) เพื่อสร้างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา

การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมเพื่อให้ได้ประเด็นการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างกรอบแนวคิดและกำหนดเป็นร่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการนำร่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เพื่อยืนยันความถูกต้องของร่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ .992 และนำรูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 239 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพและตัวแบบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา ประกอบด้วย 6 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ความยุติธรรม 2) ความรับผิดชอบ 3) ความเคารพ 4) ความไว้วางใจ 5) ความเป็นพลเมืองดี และ 6) ความเมตตา
  2. รูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา ประกอบด้วย 6 คุณลักษณะ ดังนี้

1) ความยุติธรรม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นกลาง ยึดหลักการบริหารสถานศึกษา ไม่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และตัดสินใจอย่างรอบคอบ

2) ความรับผิดชอบ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นแบบอย่างในด้านการตรงต่อเวลา มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และมีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ

3) ความเคารพ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเคารพตนเอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา ชุมชน และสังคม แสดงออกถึงการเป็นผู้มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน และมีความสุภาพ และสามารถปฏิบัติงานร่วมกันกับบุคคลที่มีความแตกต่างกันได้

4) ความไว้วางใจ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในสถานศึกษา ให้ความสำคัญในการตรวจสอบการปฏิบัติงานภายในสถานศึกษา และใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติงานอย่างมีหลักการและเหตุผล

5) ความเป็นพลเมืองดี ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและต่อสังคม ใช้สิทธิ์ของตนและแนะนำครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ใช้สิทธิ์ที่ตนมี และปกป้อง เทิดทูน และรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

6) ความเมตตา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามองโลกในแง่ดี อำนวยความสะดวกในด้านการปฏิบัติงานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา และให้คำติชมในทางที่ดีและชื่นชมความสำเร็จของครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อนำไปหาระดับความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

References

เกวลิน เมืองชู, จุติพร อัศวโสวรรณและธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร

สถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์ 6(3). 76-77.

ดารุณี บุญครอง. (2560). วิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาไทยกับการขับเคลื่อนการศึกษา สู่ยุคไทยแลนด์

0. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 2(1). 1-25.

ทับทิม ประมูลจะนัง. (2560). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริย

ธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต

ร้อยเอ็ด 7 (1). 242-249.

ภาณุวัฒน์ บุญธัญกิจ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพ

มหานครตามทัศนะของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รัตนาภรณ์ ไชยโคตร. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้

กิจกรรมการสอนแบบแผนผังความคิด เรื่อง พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาการศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). อิทธิพลของคุณลักษณะงานและคุณภาพชีวิตในการ

ทำงานที่มีต่อการบริการที่เป็นเลิศผ่านความผูกพันในอาชีพของพนักงานโรงแรมในอำเภอหัวหิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 12(29). 241 – 253.

วิภาวดี อินทร์ด้วง. (2561). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนัก

งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2565). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำ

ปีงบประมาณ 2566. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (ศอ.บต.)

สราวุธ แช่มช้อย. (2563). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร 11(2). 48-61.

สุภาณี รำทะแยและปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2559). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย

ราชภัฏเพชรบุรี 6(2). 74-81.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. ยะลา:

กลุ่มนโยบายและแผน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา.

Golembiewski, R. T. & McConkie, M. (1975). The centrality of interpersonal trust in Group

processes. In C. L. Cooper (Ed.). Theories of Group Processes.

Sergiovanni, T. J., & Burlingame, M. (1992). Educational Governance and Administration. 3rd

ed. Needham Heights, MA: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-19