คติความเชื่อของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดหนองคายต่อประเพณีไทย

Main Article Content

พงศกร พจนสารวงศ์

บทคัดย่อ

         บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คติความเชื่อของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดหนองคายที่มีต่อประเพณีไทย ซึ่งชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดหนองคาย ได้นำเอาวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ของตนเองเข้ามาด้วย ทั้งด้านวิถีชีวิต ด้านอาหาร ด้านมิติความเชื่อ กล่าวคือ ชาวเวียดนามนอกจากจะนับถือพุทธศาสนาแล้ว ยังมีการนับถือผีควบคู่ไปด้วย โดยผีบ้านหรือเจ้าที่เป็นผีบรรพบุรุษในครอบครัวหรือสายสกุลของตน ซึ่งชาวเวียดนามจะให้ความสำคัญต่อการบูชาบรรพบุรุษมาก ต่อมาได้ซึมซับเอาวัฒนธรรมประเพณีของชาวจังหวัดหนองคายและได้รับการปลูกฝังในด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย จึงทำให้คนไทยเชื้อสายเวียดนามได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีไทยอย่างละมุนละม่อม จากการวิเคราะห์ยังพบว่า วิถีชีวิตชาวเวียดนามเมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดหนองคายได้ผสมผสานวัฒนธรรมในหลาย ๆ ด้านเข้ากับชุมชนชาวหนองคาย จะเห็นได้ว่าภายในบ้านของชาวเวียดนามจะมีหิ้งบูชาบรรพบุรุษ และในขณะเดียวกัน คนไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดหนองคายก็ได้ซึมซับเอาวัฒนธรรมประเพณีของไทยมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต โดยถือปฏิบัติควบคู่ไปกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวเวียดนามด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เชียรช่วง กัลยาณมิตรและคณะ. (2558). รายงานผลการศึกษาเรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการประชุมสัมมนากำหนดกรอบการทำงานในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2558 : ที่ทำการปกครองจังหวัดหนองคาย.

ธัญญาทิพย์ ศรีพนา และ Trinh Dieu Thin. (2548). เหวียต เกี่ยว : ในประเทศไทยกับความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. (2541). เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฝ่าม ดึ๊ก เซือง. (2553). วัฒนธรรมเวียดนาม : วัฒนธรรมแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลาย. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 6(3), 32-46.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2562). จังหวัดหนองคาย. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2562 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดหนองคาย.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2558). โสวัฒนธรรมอีสาน. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานจังหวัดหนองคาย. (2562). บรรยายสรุปหนองคาย เมืองน่าอยู่ เปิดประตูสู่อาเซียน. หนองคาย : กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร.

สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมกรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2553). ประเพณีสงกรานต์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2561). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ.

Joanne Schrock. (1970). Minority Groups in Thailand. Washington D.C. : Headquarters Department of the Army.