การพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในเขตตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

Main Article Content

มานิตย์ แขวงเมือง
พระมหาสนอง ปัจโจปการี (จำนิล)

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองของสตรีและแนวทางในการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี ในเขตเทศบาลตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร พนักงานส่วนราชการ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ในเขตตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


         ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี ในเขตเทศบาลตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการเลือกตั้ง และด้านการแสดงออกของประชาชน รองลงมาคือ ด้านการเสนอความคิดเห็น ด้านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดตั้งและรวมกลุ่มผลประโยชน์ 2) แนวทางการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรี ในเขตเทศบาลตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พบว่า (1) ด้านการเลือกตั้ง ควรไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง เมื่อมีการเลือกตั้ง (2) ด้านการเสนอความคิดเห็น ควรเข้าร่วมเสนอความคิดเห็นในเวทีประชาคมของตำบลทุกครั้งเมื่อมีโอกาส (3) ด้านการจัดตั้งและรวมกลุ่มผลประโยชน์ ควรชักชวนคนในชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ เพื่อทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตน (4) ด้านการแสดงออกของประชาชน ควรเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เทศบาลจัดทำขึ้น และ (5) ด้านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ควรร่วมผลักดันการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หรือร้องเรียนความเดือดร้อนกับหน่วยงานรัฐได้โดยตรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา หนูสาย. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชิงชัย ศิริโวหาร. (2550). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานการศึกษาอิสระ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐรินทร์ เฉลิมฤทธิ์วัฒน์. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาล ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทศบาลตำบลดงหลวง. (2562). ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป. เรียกใช้เมื่อ 9 กันยายน 2562 จาก http://www.dongluang.go.th/.

ธารารัตน์ เชื้อเมืองเเสน. (2562). ประวัติตำบลดงหลวง. เรียกใช้เมื่อ 9 กันยายน 2562 จาก http://tuktatharar889.blog.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 8 (6 เมษายน 2560).

วรรณี กมลวิทย์ศิริกุล. (2550). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศสิริ อิ่มนพรัตน์. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพนักงาน ปตท. โรงแยกก๊าซ จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง และการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2558). รายงานสถานการณ์สตรี ปี 2558. เรียกใช้เมื่อ 4 สิงหาคม 2562 จาก http://www.gender.go.th.

สุกฤตตา จินดาพรม. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุพินดา เกิดมาลี. (2547). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.