การบริหารรัฐกิจเชิงพุทธของพระเจ้าอชาตศัตรู

Main Article Content

พระมหาฐิติวัสส์ ฐิติวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารราชการแผ่นดินของพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ การศึกษาพบว่า การปกครองรัฐสมัยพุทธกาล แบ่งการปกครองออกเป็น 16 แคว้น แคว้นที่เป็นมหาอานาจทางการเมืองมี 5 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นโกศล แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี และแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูทรงปกครองแคว้นมคธอย่างเข้มแข็ง แม้ว่าเบื้องต้นพระองค์จะช่วงชิงบัลลังก์ด้วยการปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดา อันสืบเนื่องมาจากการยุยงของพระเทวทัต พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทาปิตุฆาตโดยการทรมานพระเจ้าพิมพิสารด้วยวิธีการต่าง ๆ ภายหลังจากการทาปิตุฆาตแล้ว ยังความเดือดร้อนในใจ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดเลื่อมใส จึงหันมานับถือพระพุทธศาสนา และใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการปกครองรัฐ จนทาให้พสกนิกรอยู่เย็นเป็นสุข ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาตลอดจนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ทาให้แคว้นมคธกลายเป็นอาณาจักรที่มั่งคั่งและเกรียงไกรด้านกองทัพ มีแสนยานุภาพเป็นที่เกรงขามแก่แคว้นอื่น พระองค์ทรงบริหารราชการบ้านเมือง โดยตั้งอยู่ในหลักทศพิธราชธรรม บทบาทการบริหารรัฐกิจของพระเจ้าอชาตศัตรูมี 2 ประการคือ บทบาทด้านผู้นาอาณาจักร ด้วยการบริหารราชการแผ่นดินมคธด้วยความทรงธรรม และบทบาทด้านผู้อุปถัมภ์ศาสนจักร ด้วยการบารุงพระสงฆ์ ปฏิสังขรณ์วัด 18 วัด ทรงสร้างถ้าสัตตบรรณคูหา และเป็นองค์ศาสนูปถัมภกในการทาสังคายนาครั้งที่ 1 การบริหารราชการแผ่นดินของพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นแบบอย่างที่ดีของการประกอบกันของหลักพุทธธรรม หลอมรวมเข้ากับการปกครองแผ่นดินอย่างประณีต จนทาให้อาณาจักรมคธมีความเจริญรุ่งเรือง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการแผนกตารา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2508). สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก ภาค 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

คณะกรรมการแผนกตารา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2540). มังคลัตถทีปนี แปล ภาค 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

นครินทร์ แก้วโชติรุ่ง. (2558). รูปแบบการปกครองของรัฐในพุทธกาล. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 22(3), 11-34.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2546). พุทธประวัติ ประสูติ ตรัสรู้. กรุงเทพมหานคร: กองทุนศึกษาพุทธสถาน.

ประเวศ อินทองปาน และคณะ. (2558). การศึกษาบทบาทในการทานุบารุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอชาตศัตรู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2 (1), 1-7.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คาวัด. กรุงเทพมหานคร : วัดราชโอรสาราม.

Sueksitalai Journal Vol.1 No.1 (January – April 2020)

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). ธรรมกับสังคมไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร, ป.ธ.9). (2545). โลกทีปนี. กรุงเทพมหานครห ป: สานักพิมพ์ดอกหญ้า.

ลอองดาว วงเวิน. (2548). การบริหารโดยใช้หลักทศพิธราชธรรม. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มกฎหมายระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ.

วัชรี ทรงประทุม. (2547). ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2549). การบริหารราชการแผ่นดินกับจิตวิญญาณประชาธิปไตย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สวาท ฮาดภักดี ทรงพล โชติกเวชกุล และชัยรัตน์ มาสอน. (2561). การเมืองการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 96-108.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2560). หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สานักวิชาการ สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Henry, Nicholas. (1943). Public administration and public affairs (2nded.). Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall.