ย้ายคุกเข้าวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของวัดพัชรกิติยาภาราม ต่อการขัดเกลาจิตใจของผู้เข้าร่วมโครงการ “ย้ายคุกเข้าวัด” ซึ่งอยู่ในระหว่างคุมขัง จากการศึกษาพบว่า แม้คุกจะเป็นสถานที่ที่น่าสะพรึงกลัว และเป็นศูนย์รวมนักโทษที่เป็นภัยต่อสังคม แต่คุกก็สามารถย้ายมาอาศัยอยู่ร่วมกับวัดได้อย่างลงตัว โดยมีวัดพัชรกิตติยาภารามแห่งจังหวัดหนองบัวลาภูเป็นกรณีตัวอย่าง โครงการย้ายคุกเข้าวัด เกิดจากนโยบายของพระเมธีวชิรธาดา วัดพัชรกิตติยาภาราม เจ้าคณะจังหวัดหนองบัวลาภู เรือนจาจังหวัดหนองบัวลาภู และองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลาภู ร่วมกันจัดขึ้น วัตถุประสงค์ของโครงการคือ การยื่นโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก การคัดกรองผู้ถูกคุมขังออกมาทดลองใช้ชีวิตร่วมกับสังคมภายนอก นับว่าเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมาพักอยู่ในวัดพัชรกิตติยาภาราม ทาให้ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการ ได้เข้าไปอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้ร่วมปฏิบัติตามระเบียบของวัด และได้สดับรับฟังธรรมะของพระวิทยากร ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของผู้ถูกคุมขังให้อ่อนโยนมากขึ้น ซึ่งประสบความสาเร็จเป็นอย่างมาก จนมีผู้เข้าร่วมโครงการบางคนขอบวชหลังสิ้นสุดโครงการด้วย กล่าวได้ว่า วัดพัชรกิติยาภารามเป็นวัดแห่งเดียวในประเทศไทย ที่สามารถจัดโครงการย้ายคุกเข้าวัด อันเป็นการลดปัญหานักโทษล้นคุก ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน โดยใช้พื้นที่วัดเป็นศูนย์กลางการฝึกอาชีพของผู้ต้องขังในจังหวัดหนองบัวลาภู พร้อมกับกล่อมเกลาจิตใจของผู้ต้องขังด้วยด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเตรียมความพร้อมคืนคนดีสู่สังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
กฤตยา อาชวนิจกุล และกุลภา วจนสาระ. (2560). การขับเคลื่อน “คุกไทย” สู่ “เรือนจาสุขภาวะ”. นครปฐม : สมาคมนักวิจัยประชากรและสังคม และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2561). ภาพรวมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย และ Rold in Action. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย.
คมชัดลึกออนไลน์. (2562). สุริยะใส-พิภพ แชร์ประสบการณ์ 5 บ้านแดนวีไอพี. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://www.komchadluek.net/news/politic/377566
คำสั่งกระทรวงยุติธรรม. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เรื่องกาหนดอาณาเขตเรือนจาชั่วคราวบ้านห้วยเตย. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 185 ง 19 กรกฎาคม 2560
ประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์. (2562). โครงการนาคุกเข้าวัด โดยกรมราชทัณฑ์. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://web.facebook.com/watch/?v=626280521100877
ปัฐพงษ์ สถาวรสมิต. (2561). โครงการสานต่อที่พ่อทา โครงการที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ เดินหน้าทาประโยชน์และสนับสนุนสังคมที่ จ.หนองบัวลาภู. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://www.tnews.co.th/social/408092
โพสต์ ทูเดย์ (2562). บันทึกชีวิต 87 วันในเรือนจา "คุกมีไว้ขังคนจนจริงหรือ?. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://www.posttoday.com/politic/news/589537
มติชนออนไลน์. (2560). บทความพิเศษ : ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เรียนรู้คุก (จบ) บทสรุปของคุก. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_31368
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สานักข่าว Spring News. (2561). เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://shorturl.asia/FKVaA
สุรศักดิ์ หนองบัวลาภู. (2559). เอาคุกเข้าวัด! นานักโทษทาประโยชน์ ขัดเกลาด้วยธรรมะ ก่อนคืนสู่สังคม. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://www.thaich8.com/news_detail/6185