บทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ของสานักปฏิบัติธรรมอินทร์แปลง ธรรมสถาน ตาบลปะโค อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระเดชขจร ขนฺติธโร (ภูทิพย์)
บุญส่ง สินธุ์นอก

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม 2. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแม่ชีในประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาบทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ของสานักปฏิบัติธรรมอินทร์แปลงธรรมสถาน ตาบลปะโค อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์จากเอกสารและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม เป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ เป็นการประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม พระภิกษุรูปแรกที่เริ่มบุกเบิกแนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมคือ พระติช นัท ฮันห์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชาวเวียดนาม ที่พยายามกระตุ้นให้พระพุทธศาสนามีบทบาทต่อสังคมให้ครบทุกด้าน และแนวคิดนี้กาลังได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย 2. ประวัติความเป็นมาของแม่ชีในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพระโสณะและพระอุตตระเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในสุวรรณภูมิ แต่มีหลักฐานชัดเจนในสมัยอยุธยา และมีการบวชชีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม่ชีในสังคมไทยมีสถานภาพไม่แน่นอนว่าเป็นนักบวชหรือเป็นเพียงอุบาสิกา จึงยังไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมมากนัก แต่ถึงอย่างนั้น แม่ชีไทยก็มีบทบาทต่อสังคมไทยในหลาย ๆ ด้าน
3. สานักปฏิบัติธรรมอินทร์แปลงธรรมสถาน เป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ ด้วยการนาหลักคาสอนทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น สนับสนุนด้านสุขโภชนาแก่องค์กรทางพระพุทธศาสนา องค์กรทางราชการ และองค์กรเอกชน ส่วนด้านจิตใจ ได้ทาหน้าที่ร่วมจัดกิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจตน์ ตันติวณิชชานนท์. (2560). แม่ชี : สารวจงานวิจัยเบื้องต้นในประเทศไทย. วารสารภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม, 6(2), 141-163.

เจริญ ธิชากรณ์. (2544). การทางานของแม่ชีไทยในฐานะผู้ให้บริการในโครงการต่าง ๆ ของสถาบันแม่ชีไทย. วิทยานิพนธ์สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชมกร เศรษฐบุตร. (2559). แนวคิดและงานพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมของเสถียรธรรมสถาน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ การบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร ประจาปี 2559.

ชาญวิทย์ สรรพศิริ. (2559). สิ่งที่ชาวพุทธเรียกว่า “พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(1), 392-401.

ธีรวัส บาเพ็ญบารมี. (2550). โครงการศึกษาวิจัย กระบวนการเผยแผ่ธรรม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเบญจกาย.

ประคอง สิงหนาทนิติรักษ์. (2516). บทบาทของแม่ชีไทยในการพัฒนาสังคม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2548). ขบวนการพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่ : พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม. เรียกใช้เมื่อ 5 มีนาคม 2563 จาก https://is.gd/Oam9ub.

พระราชกวี (อ่า ธมฺมทตฺโต). (2518). พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ ราชบุรีวัตถุกถา ตานานเมืองขุนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนตรี สิระโรจนานันท์. (2562). สตรีในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการเข้าถึงการศึกษาระดับสูงของแม่ชีไทย. รายงานการวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีณัฐหทัย ฉัตรทินวัฒน์ และไพเราะ มากเจริญ. (2560). แนวทางการพัฒนาการศึกษา สถานภาพ และบทบาทของแม่ชีไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(2), 347-358.

ยุพิน ดวงจันทร์. (2542). สตรีกับการบวชในพระพุทธศาสนา ศึกษาเปรียบเทียบสถานภาพและทรรศนะของแม่ชีวัดปากน้า ภาษาเจริญ กรุงเทพมหานคร และสานักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล กาญจนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

วันชนะ กล่าแก้ว. (2563). “แม่ชี” ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งว่า “ไม่มีคนไหนเป็นหญิงบริสุทธิ์”. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2563 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_6971.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สุขสันต์ จันทะโชโต. (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติคณะแม่ชีไทย : กรณีศึกษาการพัฒนาองค์การและการพัฒนาสถานภาพแม่ชีไทยในมิติของพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.