หลักสาราณียธรรมกับการบริหารเทศบาลตำบลหนองสองห้อง

Main Article Content

พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักสารณียธรรมเข้ากับการบริหารงานของคณะผู้บริหารของเทศบาลตำบลหนองสองห้อง ซึ่งหลักสารณียธรรมเป็นหลักธรรมที่ก่อให้เกิดความสามัคคีในท้องถิ่น โดยสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา หากชุมชนเทศบาลหนองสองห้องนำหลักธรรมนี้มาประยุกต์ใช้ ก็จะสามารถเสริมสร้างความสามัคคีและสันติสุข สอดคล้องกับเป้าหมายของเทศบาลหนองสองห้องได้อย่างง่ายดาย เพราะเทศบาลหนองสองห้องตั้งอยู่ในเขตชานเมืองหนองคายที่มีชุมชนหนาแน่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวบ้านจึงต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับหน่วยงานของรัฐ หลักสาราณียธรรมนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นการมอบสิ่งดี ๆ ต่อกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง โดยเฉพาะการทำดีต่อกัน การพูดสุภาพต่อกัน การระลึกถึงสิ่งดีระหว่างกัน การเอื้อเฟื้อต่อกัน การมีศีลเสมอกัน และการมีความคิดที่ถูกต้องเหมือนกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกุศโลบายสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารงานเทศบาลหนองสองห้องมีความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ได้กับหลายชุมชนในสังคมไทยด้วย ฉะนั้น หลักสาราณียธรรมจึงเป็นหลักธรรมที่เน้นความสำคัญจากภายในสู่ภายนอก ดุจผู้นำหรือคณะผู้นำมีหน้าที่ออกแบบบ้าน ส่วนผู้คนในชุมชนก็จะช่วยกันสร้างบ้านตามต้นแบบ เมื่อชุมชนมีภูมิคุ้มกันโรคร้ายได้แล้ว ชุมชนก็จะสามารถนำพาทุกชีวิตไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขได้ ดังนั้น ความสามัคคีปรองดองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะควบคุมความขัดแย้งและระงับความโกลาหล ดุจยาอายุวัฒนะที่รักษาได้ทุกโรค ทั้งยังรักษาได้อย่างยั่งยืนด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2527). สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2562). วันเทศบาล. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ณฐา แย้มสรวล. (2559). การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อเสริมสร้างความปรองดองในการปฏิบัติงานวิชาชีพพยาบาลในโรงพยาบาลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(1), 49-58.

ธัญญ์วาริน อำนาจกิจเสรี. (2556). คุณภาพการส่งมอบบริการสาธารณะ: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 79-90.

ประหยัด หงส์ทองคำ. (2523). การปกครองท้องถิ่นไทย. ไทยวัฒนาพานิช : กรุงเทพมหานคร.

พระครูกัลยาณกิจจานุกิจ กลฺยาโณ (ปทุมมา). (2557). การนำหลักสาราณียธรรม 6 มาใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(1), 47-63.

พระเดชขจร ขนฺติธโร (ภูทิพย์). (2561). วิชาฝึกใจให้เลิกทรมานจากความเครียด. กรุงเทพมหานคร : ซี แอนด์ เอ็น บุ๊ค.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 29. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี). (2550). คนสำราญงานสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

พระสมุห์อมร อมโร (สีดำ) และคณะ. (2562). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์, 6(4), 1726-1742.

มรุต วันทนากร และดรุณี หมั่นสมัคร. (2559). ประวัติและพัฒนาการของเทศบาล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พุทธศักราช 2477. (2477). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 51 หน้า 82-107 (24 เมษายน 2477).

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496. (2496). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 70 ตอนที่ 14, หน้า 222-25717 (กุมภาพันธ์ 2496).

สุวัสดี โภชน์พันธุ์. (2557). สารานุกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : ธรรมดาเพรส.