ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำปี 2563 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย

Main Article Content

พระมหาเอกชัย วิสุทฺโธ
อภิวัฒชัย พุทธจร

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำปี 2563 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย      2) เพื่อประเมินผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำปี 2563 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 452 รูป/คน โดยใช้นิสิตที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


         ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจต่อโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำปี 2563     โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (  = 4.22) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อด้านประชาสัมพันธ์ มีความพึงพอใจมากที่สุด ในระดับ มาก ( = 4.28) รองลงมาคือ ด้านสถานที่ มีความพึงพอใจในระดับ มาก (  = 4.25) ส่วนนิสิตมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือด้านสวัสดิการ มีความพึงพอใจในระดับ มาก ( = 4.11) ส่วนผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (  = 4.11) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า โดยนิสิตมีความพึงพอใจในด้านด้านสุขภาพจิต มีผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมากที่สุด ในระดับ มาก ( = 4.15) รองลงมาคือ ด้านสุขภาพกาย มีผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในระดับ มาก (  = 4.0) ส่วนนิสิตมีผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานน้อยที่สุด คือด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มีผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในระดับ มาก ( = 4.07)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรีสุดา เฑียรทองและคณะ. (2535). แนวการสอนพระกรรมฐานของพระพุทธองค์กับการปฏิบัติพระกรรมฐานในประเทศไทย. ใน รายงานวิจัย. วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา.

ธวัลรัตน์ อ่อนราษฎร์. (2557). แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. ใน พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บรรณสิทธิ์ บรรณสารประสิทธิ์. (2555). ความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน 4 ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน. ใน พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรรณราย รัตนไพฑูรย์. (2544). การศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 : ศึกษาแนววการสอนของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระญาณโปนิกะเถระ. (2545). หัวใจกรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ศยาม.

พระพุทธโฆสาจารย์, (2531). พระธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี (โอฐสู) และคณะ. (2547). ศึกษาทัศนคติของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน. ใน รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 53. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

Mr. Handing Ma. (2562). ศึกษาความพึงพอใจของชาวจีนต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 วัดร่าเปิง (ตโปทาราม) ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ใน พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.