แนวทางการส่งเสริมการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรมความก้าวร้าว เป็นการกระทำที่รุนแรงกว่าปกติ โดยมุ่งทำลายตนเองและผู้อื่นให้ได้รับความเจ็บปวดหรือทรัพย์สินเสียหาย ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บทางกายและจิตใจ เป็นพฤติกรรมที่มีการติดต่อกับผู้อื่นอย่างไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ ทำให้ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ความก้าวร้าวอาจแสดงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อระบายความตึงเครียด ความคับข้องใจ สภาพที่ทำให้เกิดความก้าวร้าวทั้งทายกาย วาจา โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมความก้าวร้าว คือ ด้านกรรมพันธุ์ ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา ด้านสิ่งแวดล้อม/สังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านครอบครัว ด้านพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ ด้านครูผู้สอน และด้านเพื่อน ส่งผลให้แสดงความก้าวร้าวออกมาทางกายและวาจา ดังนั้น แนวทางที่สามารถส่งเสริมการลดพฤติกรรมความก้าวร้าว ควรมีการดำเนินการ คือ 1) การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอน เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ 2) ศึกษาลักษณะของการปรับพฤติกรรม โดยเน้นการแก้ไขพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน ไม่ใช้คำที่ประณามหรือตีตรา เน้นสภาพการณ์ในปัจจุบัน เน้นการเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ตระหนักในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย 3) ใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรม โดยมี 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอน แนวทางที่ 2 เทคนิคการปรับพฤติกรรม เช่น การให้แรงเสริม การฝึกพฤติกรรมแสดงออกที่เหมาะสม การเตือนตนเอง การเสนอตัวแบบ การชี้แนะ การลงโทษ การควบคุมตนเอง การฝึกสอนตนเอง และวิธีพฤติกรรมบำบัด เป็นต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ตรรกพร สุขเกษม. (2554). พฤติกรรมมนุษย์ ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2562.จาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Factor_Psyco.htm.
ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร และพรรณระพี สุทธิวรรณ. (2562). การป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนม เกตุมาน. (2562). คู่มือครู ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในนักเรียนและแนวทางการแก้ไข. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ และนิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2553). การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา. ใน รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พีร วงศ์อุปราช. (2555). ความชาชินจากการเผชิญความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้: ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงในชุมชน องค์ประกอบทางปัญญา ทางอารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 6(11), 14-36.
พูนสุข มาศรังสรรค์. (2558). การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มิสชนัญญา เงินเมือง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ การทำหน้าที่ของครอบครัว และพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน รายงานการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดงานแนะแนว ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม. โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม.
รังสรรค์ โฉมยา. (2551). การศึกษาพฤติกรรมความก้าวร้าวในการขับขี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ใน รายงานการวิจัยประจำปี 2551. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตโนทัย พลับรู้การ. (2551). พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก. กรุงเทพมหานคร : โฮลิสติกพับลิชซิ่ง.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสธิดา ผุฏฐธรรม และดุสิดา ดีบุกคำ. (2562). ลูกก้าวร้าว (Aggressive Behavior) เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2562. จาก http://taamkru.com/th/
โสมรัสมิ์ จันทรประภา. (2553). การบริหารทางจิตสำหรับเด็กวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
หัสดิน แก้ววิชิต. (2559). พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). สร้างวินัยให้ลูกคุณ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.
Buss, A. H. (1961). The psychology of aggression. New York: John Wiley and Sons.
Coon, D. & Mitterer, J. O., (2013). Introduction to Psychology: Gateways to Mind and Behavior. 13rd ed. New Tech Park: WADSWORTH CENGAGE Learning.
Feldman. F. S., (2013). Understanding Psychology. 7thed. New York: McGraw Hill.
King, L. A.. (2011). The Science of Psychology. 2nded. New York: McGraw Hill.
Zillmann, D. (1979). Hostility and aggression. New Jerssey: Lawrence Erlbaum.