การบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

พระเจริญ เตชปัญโญ (บุญโส)
พระมหาสนอง ปัจโจปการี (จำนิล)

บทคัดย่อ

         การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลฝั่งแดง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลฝั่งแดง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลฝั่งแดง จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า


 1) ระดับความคิดเห็นของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลฝั่งแดงตามหลักทศพิธราชธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงข้อที่มีค่ามากไปหาน้อย มีดังนี้ ทาน อวิหิงสา อักโกธะ ตามลำดับ


2) ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พบว่า การให้บริการไม่ทั่วถึง หมู่บ้านขาดอุปกรณ์กีฬา เด็กและเยาวชนติดยาเสพติด การบริการไม่รวดเร็ว ขาดบุคคลทำงานเพื่อหมู่บ้านอย่างจริงจัง การช่วยเหลือและแบ่งปันผลประโยชน์ไม่เท่าเทียม ใช้งบประมาณไม่ตรงกับความต้องการ หมู่บ้านขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ การปฏิบัติต่อบุคคลไม่เท่าเทียมกัน และการทำงานไม่ต่อเนื่อง


3) แนวทางการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พบว่า ควรให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาประจำหมู่บ้าน สนับสนุนให้สตรีและเด็กมีกิจกรรมหรืออาชีพเสริมหลังเรียนและหลังฤดูทำนา พูดจาให้ไพเราะและให้ความเป็นกันเองกับชาวบ้าน จัดระเบียบการดำเนินการและให้คำแนะนำแก่ประชาชนให้มากขึ้น ใช้งบประมาณให้ตรงตามความต้องการของชาวบ้าน จัดระเบียบหมู่บ้าน และเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ทับทิมทอง. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วน ตำบลวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เจษฎา พรไชยา. (2556). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจษฎา สอนแก้ว. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยอ้ออำเภอลอง จังหวัดแพร่. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ชวฤทธิ์ บริสุทธิ์. (2551). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการู้องค์การบริหารส่วน ตำบลลาดชิด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ดวงภรณ์ ตรีธัญญา. (2549). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการขององค์การบริหารส่วน ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. ใน ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ทศพล สุทธวงศ์. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลริมกก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

พระมหาจันเติม มะเดื่อ. (2546). ประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา นโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระยุทธภูมิ ธมฺมธโร. (2553). การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ 4 : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัคจิรา ปกป้อง. (2546). การประเมินผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ด้านการมีส่วน ร่วมของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณี : องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พุทธศักราช 2537. (2537). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 111/ตอนที่ 53 ก/หน้า 11/2 (ธันวาคม 2537).

วฤทธิ์ สารฤทธิคาม. (2548). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วน ตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลดอนงัว อำเภอบรบือจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.

วัฒนสิน บุสดี. (2549). ความเข้มแข็งในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.