การประยุกต์ใช้ฆราวาสธรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันครอบครัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมสำหรับสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันครอบครัว โดยเป็นการศึกษาจากเอกสาร การศึกษาพบว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สุดและมีความสำคัญยิ่งของสังคม เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของสถาบันทั้งหลาย ในสังคมโลกาภิวัตน์นี้ สถาบันครอบครัวควรทำหน้าที่ให้การศึกษาและความรู้แก่สมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ ยังต้องทำหน้าที่ในด้านเศรษฐกิจและทำหน้าที่อบรมสั่งสอนสมาชิกให้เป็นพลเมืองดี แต่ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาและสถาบันเศรษฐกิจได้เข้ามามีบทบาทแทนสถาบันครอบครัว ในด้านการให้การศึกษาและผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคขึ้นจำหน่ายแก่สมาชิกในสังคม จึงทำให้บทบาทของสถาบันครอบครัวลดลง การเปลี่ยนแปลงของครอบครัวทั้งด้านโครงสร้างและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และสัมพันธภาพภายในครอบครัวเสื่อมถอย ทำให้บรรยากาศในครอบครัวขาดความอบอุ่น ยังผลให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว ครอบครัวแตกแยก ความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส การหย่าร้าง ความรุนแรงในครอบครัว การเสพยาติด และการเล่นการพนัน เป็นต้น ดังนั้น การนำหลักฆราวาสธรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาภายในครอบครัว จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลักธรรมนี้สามารถปลูกฝังสร้างค่านิยมให้สมาชิกในครอบครัวได้ตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว คือ (1) สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน (2) ทมะ การฝึกตน (3) ขันติ ความอดทนอดกลั้น (4) จาคะ การเสียสละแบ่งปันและการมีน้ำใจ หลักฆราวาสธรรมนี้จึงเป็นหลักปฏิบัติของฆราวาสผู้อยู่ครองเรือนโดยตรง ที่ช่วยควบคุมให้สมาชิกมีความสามัคคี ทำให้ชีวิตคู่มีความสงบสุข แล้วสถาบันครอบครัวก็จะเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ก่อ สวัสดิพานิชย์. (2519). ความสัมพันธ์ในการครองเรือน. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2541). ครอบครัว : 7 ข้อเสนอทางทฤษฎี ณ รอยต่อแห่งทศวรรษ ในไทยยุควัฒนธรรมทาส. กรุงเทพมหานคร : โครงการวิพีทัศน์.
ณรงค์ เส็งประชา. (2538). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ทัตตชีโวภิกขุ. (2529). ฆราวาสธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นิวไวเต็ก.
ปริศนา กาญจนกันทร์และสุพรรณี ไชยอำพร. (2562). ตัวแบบความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยยุคโลกาภิวัตน์. วารสารพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 21(2), 164-175.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). สลายความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). คู่สร้างคู่สม ชีวิตคู่ในอุดมคติ. กรุงเทพมหานคร : กองทุนวุฒิธรรม กลุ่มศึกษาและปฎิบัติธรรม.
__________________. (2560). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).
พระมหาบุญเพียร ปุญญวิริโย. (2544). แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหายศวิภรณ์ เปมสีโล (ตั้งคำ) และคณะ. (2561). การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมกับการปฏิบัติตนของครอบครัวไทยยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 3(2), 44-62.
พุทธทาสภิกขุ. (2523). ฆราวาสธรรม. กรุงเทพมหานคร : การพิมพ์พระนคร.
เพชราภรณ์ ประสารฉ่ำ และสุวิน ทองปั้น. (2563). ฆราวาสธรรมกับวิถีชีวิตแห่งสุขภาวะ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 84-100.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2545). ความเข้มแข็งของครอบครัว : ครอบครัวสุขภาพดี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 8(1), 1-10.
รศ.พญ.จรวยพร สุภาพ. (2552). “ครอบครัวไทย ความสุข ความเข้มแข็ง” ใน การประชุมวิชาการอนามัยครอบครัวแห่งชาติ ครั้งที่ 6. เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2564 จาก http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/knowledgefiles/___6.pdf
วัลลภ ตังคณานุรักษ์. (2534). ในทศวรรษ องค์การพัฒนาเอกชน. กรุงเทพมหานคร : เอดิสันเพรสโปรดักส์.
วิชัย เทียนถาวร และทัศนาภรณ์ ขำปัญญา. (2543). การพัฒนาครอบครัว ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : ส่งเสริมสุขภาพ.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2547). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547-2556. กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.