พฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาที่สองเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

Niyom Chatsupap

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาที่สองเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาที่สองเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร จำนวน 170 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ


ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาที่สองเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสื่อและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย (  = 3.59) ด้านการใช้ชีวิต มีค่าเฉลี่ย (  = 3.21) ด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (  = 3.11) และด้านสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย       (  = 3.02) สรุปได้ว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาที่สองเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้นักเรียนได้ศึกษาและสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาที่สองเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พบว่า ด้านเพศ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านอายุ และด้านระดับการศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). หลักสูตรภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2539. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

กุสุมา ล่านุ้ย. (2538). การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ระดับมัธยมศึกษา. ปัตตานี : โรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ธัญทิพ บุญเยี่ยม และทิวาพร ทาวะรมย์. (2556). ทัศนคติต่อความสำคัญของภาษาในอาเซียน. ใน รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). ครูไทยกับ ICT, การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2556 “การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 14 – 15 กันยายน 2556.

ศรีวัย สุวรรณกิติ. (2520). การสอนอังกฤษ. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.

สงบ ลักษณะ. (2541). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษที่ทำให้ต้องคิดค้นวิธีการเรียนที่ดีขึ้น. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2564 จาก http://www.moe.go.th/main2/article/article7.htm.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2554). บันทึกอาเซียน ASEAN DIARY : การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาคกับอนาคต ไทยในอาเซียน (1). เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2564 จาก http://varieties-thailand.blogspot.com/2011/07/1-2_20.html

อรอุมา เพชรนุ้ย. (2556). การศึกษาความสามารถอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน จากการใช้วิธีสอนอ่านเป็นคำร่วมกับเทคนิค Picture Me Reading. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Guglielmeno, L.M. (1977). “Devrlopment of the Self-directed Learning Readiness Scale. Doctoral dissertation University of Georgia Dissertation Abstracts International. Johnson,Keith, and Keith Morrow. Communication in the Classroom. London : Longman.

Kara. (2009). The Effect of a “Learning Theory” Unit on Students towards Learning. Australian Journal of Teacher Education : 34Z3X.

Rubin,J. (1975). What the “good language leaner” can teach us. TESOL Quartely, 9.

T.Hutchinson, & A. Water. (1984). English for Specific Purposes : A Learning Centered Approach. Cambridge University.