ความพยาบาท : มูลเหตุแห่งความขัดแย้ง

Main Article Content

พระวันชัย ภูริทตฺโต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ  


         บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของความพยาบาทในทัศนะต่าง ๆ และเพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งที่มีมูลเหตุมาจากความพยาบาท ผลการศึกษา พบว่า ความพยาบาทนั้น เกิดขึ้นกับเราได้ทุกขณะ ซึ่งอาจเกิดจากคนใกล้ตัว ในที่ทำงาน ที่สาธารณะ มูลเหตุอาจมาจากการถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ถูกหักหลัง ถูกรังแก ถูกปัดแข้งปัดขา ถูกข้ามหน้าข้ามตา ถูกด่าว่าเสียหาย ถูกใส่ร้ายป้ายสี ถูกติฉินนินทา เป็นต้น เมื่อมากระทบกับเราแล้ว ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็งพอ ก็จะเกิดเป็นความอาฆาตพยาบาทในที่สุด การเข้าใจในอารมณ์ที่เป็นมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง มีปรากฏในชาดกเรื่องเสรีววาณิชชาดก อันเป็นต้นกำเนิดของความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระพุทธเจ้ากับพระเทวทัต ในครั้งเสวยพระชาติเป็นพ่อค้าเร่ และเป็นผลสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันชาติ ดังนั้น เราควรที่จะรู้จักการจัดการความขัดแย้ง เพื่อขจัดความพยาบาทให้ออกไปไกลตัว หลักการจัดการคือ การหลีกเลี่ยง การประนีประนอม การร่วมมือ และการรับฟังปัญหาก่อนเกิดความขัดแย้งอย่างเข้าอกและเข้าใจของอีกฝ่าย เพราะหากเราเข้าไปกระทบกับความขัดแย้งโดยตรงแล้ว ผลที่ได้นั้นมีแต่ผลเสีย เสียทั้งตนเอง เสียทั้งทรัพย์ เสียทั้งชื่อเสียง และเสียหายถึงประเทศชาติอีกด้วย การเข้าใจถึงความขัดแย้งนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุ และทราบถึงวิธีการแก้ไข อันเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหา ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันล้วนแล้วเกิดจากความขัดแย้งด้วยกันทั้งสิ้น การนำเอาเสรีววาณิชชาดกมาศึกษาเพื่อให้ทราบถึงความขัดแย้ง จึงเป็นส่วนหนึ่งในบทความนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

จักรพันธ์ ปัญจะสุวรรณ์. (2545). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การแก้ไขความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : รุ่งเรืองการพิมพ์.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2542). การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : ว.สกุลเพ็ชร.

พรรณราย ทรัพยะประภา. (2548). จิตวิทยาประยุกต์ในชีวิตและในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระปลัดประสิทธิ์ เขมรโต. (2560). ศึกษาพยาบาทในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องบ่วง. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต). (2527). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อมรินทร์การพิมพ์.

พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช). (2552). อภัยทาน : พลังอันยิ่งใหญ่ภายในจิตใจของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2527). องค์การและการจัดการ หน่วยที่ 1-8. กรุงเทพหานคร : ห้างหุ้นส่วนยูไนเต็ดโปดักชั่น จำกัด.

ยุรพร ศุทธรัตน์. (2553). องค์การเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัญญา กลัวผิด. (2560). การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัดพื้นที่กลุ่มเครือข่ายภาคกลาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สนั่น แก้วปูวัด. (2546). จะทำอย่างไรดีกับปัญหาความขัดแย้ง. รวมบทความทางบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆมหาปรินายก. (2500). สนิมอยู่ในใจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชาติ คชจันทร์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นกลุ่มของพนักงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามกรอกทฤษฏีความยัดแย้ง. ใน วิทยานิพนธ์การจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุมารี ยุทธวรวิทย์. (2550). การจัดการความขัดแย้ง : ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณ รักธรรม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kenneth, W. T., & Ralph, H. K. (2010). The Thomas-Kilmann Conflict Mode Instrument (TKI) assesses an individual's behavior in conflict. The United States : CPP.