การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์คุกกี้มะเขือเทศ วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านสีกายเหนือ จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ทรัพย์ อมรภิญโญ
ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล
รัฐการ บัวศรี
กิติมาพร ชูโชติ
ประภัสสร ซื่อตรง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์คุกกี้มะเขือเทศ วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านสีกายเหนือ จังหวัดหนองคาย 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์คุกกี้มะเขือเทศ วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านสีกายเหนือ จังหวัดหนองคาย การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านสีกายเหนือ จังหวัดหนองคาย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า แล้วนำข้อมูลมาสรุป และนำเสนอแบบพรรณนา ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภค โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริโภคที่ซื้อไปบริโภคเอง จำนวน 20 คน 2) ผู้บริโภคที่ซื้อไปเป็นของฝากจำนวน 20 คน รวมทั้งหมด 40 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก


          ผลการวิจัยพบว่า บรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เป็นบรรจุภัณฑ์โหลแก้ว และซองพลาสติก ในส่วนของตราสินค้าให้มีการออกแบบเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยม และวงกลม ผลการประเมินความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าของกลุ่มแม่บ้าน มีความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบมากที่สุด โดยบรรจุภัณฑ์และตราสินค้ามีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ บ่งบอกถึงสถานที่ผลิตอย่างชัดเจน สามารถขนส่งได้ง่ายและไม่ส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ ในส่วนของตราสินค้าสามารถช่วยดึงดูดผู้บริโภค และจดจำได้ง่าย มีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2560). กลุ่มทะเบียนและสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2565 จาก http://www.sceb.doae.go.th/.

ขวัญชัย สุขศรีวิไลกุล. (2555). ความสัมพันธ์ตราสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้บริโภคไทย. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 4(1). 17-24.

เจณิภา คงอิ่ม. (2564). รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนนทบุรี. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 7(Special), 342-358.

ชิษยรัสย์ ศิริไปล์และทิติพงษ์ สุทธิรัตน์. (2564). วัฒนธรรมการบริโภคตราสินค้ากับการนิยามตัวตนและอัตลักษณ์ของผู้บริโภค ผ่านการเลือกซื้อตราสินค้า. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(2), 109-115.

ฐปณัท แก้วปาน สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161-182.

ณัฐพร ยมรัตน์และพบพร เอี่ยม ใส. (2021). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องหอมไทย. วารสารดีไซน์เอคโค, 2(1), 58-69.

ทรัพย์ อมรภิญโญ. (2564). การยกระดับผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(6), 103-121.

ทักษญา สง่าโยธิน. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 12(2),11-25.

ประสิทธิ์ เวชบรรยงรัตน์. (2561). ออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก. Journal of Information, 17(1), 37-48.

วชิรญา เหลียวตระกูลและวิจิตรา เหลียวตระกูล. (2017). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดตับเต่าในน้ำเกลือบรรจุขวดแก้วของตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(1), 174-185.

Armstrong, G., Adam, S., Denize, S., & Kotler, P. (2014). Principles of marketing. Pearson Australia.